Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6006
Title: ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้มาตรฐานทางกฎหมายและความรับผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์ และจำหน่าย เนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
Other Titles: PROBLEMS AND OBSTACLES IN ENFORCEMENT OF STANDARD IN LAW AND LIABILITY UNDER THE CONTROL OF SLAUGHTER AND DISTRIBUTION OF MEAT ACT, B.E.2535 (1992)
Authors: อัครเดช วรพุฒิ
Keywords: มาตรฐานทางกฎหมาย
ความรับผิด
พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้มาตรฐานทางกฎหมายและความรับผิด ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการฆ่าสัตว์ และจา หน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535 พบว่ายังมีข้อบกพร่องในการบังคับใช้เมื่อ เปรียบเทียบกับต่างประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สหภาพยุโรป เครือรัฐออสเตรเลีย ที่ต่างมีกฎเกณฑ์ คุณภาพและเข้มงวดต่อการบังคับใช้กฎหมายโรงฆ่าสัตว์ ได้ดีกว่าประเทศไทยเป็น อย่างมาก เช่น ขั้นตอนการอนุญาตตั้งโรงฆ่าสัตว์ กระบวนการฆ่าสัตว์ การขนส่งและสถานที่ จำหน่ายเนื้อสัตว์ อีกทั้งมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับต่อการตรวจสอบเพื่อได้ทราบว่าเนื้อแต่ละ ชิ้นที่มาเป็นอย่างไร จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับโรงฆ่าสัตว์ของประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้ศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจา หน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535 ไม่ได้บัญญัติใน เรื่องการกา หนดใบอนุญาตตั้งโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งจากเดิมไม่ได้กา หนดวันหมดอายุ และการนำซากสัตว์ที่ตาย ระหว่างเลี้ยงมาชำแหละอย่างไม่ถูกต้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยที่ไม่มีมาตรการ รองรับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคนั้น ปัญหาที่สาคัญอีกประการหนึ่งคือ ปัญหาการผลิตเนื้อสัตว์ ที่ไม่ได้มาตรฐานมีเชื้อโรคมาสู่ผู้บริโภค และไม่มีมาตรฐานบัญญัติโดยเฉพาะ เพื่อสร้างความ ปลอดภัยอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย ดังนั้นหาก มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและให้มีกฎหมายพิเศษ ดังนี้ 1) ควรมีผู้แทนจากกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทยเป็นคณะกรรมการควบคุม การฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ 2) ควรแก้ไขขั้นตอนและกระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคนกลางในการตรวจสอบ 3) ควรกาหนดระยะเวลาในการให้ อนุญาตประกอบกิจการ ในระยะเวลาที่สั้นลง 4) ควรเพิ่มอา นาจหน้าที่ให้กรมปศุสัตว์ และ สานักงานคุ้มครองผู้บริโภคมีอา นาจเข้าไปตรวจสอบดูแลกิจการผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ 5) ควร ปรับปรุงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการขนย้ายสัตว์ใน ให้มีการพักสัตว์ก่อน 24 ชั่วโมงที่จะมีการฆ่าสัตว์ 6) ควรปรับปรุงไม่ให้เกิดการฆ่าสัตว์นอกโรงฆ่าสัตว์ 7) เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้า ควรเพิ่ม บทลงโทษที่รุนแรงมากกว่านี้ในการลงโทษผู้กระทา ความผิด 8) ควรให้มีการออกกฎกระทรวงให้ ผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ด้วยวิธีการตรวจสอบย้อนกลับ
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6006
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf244.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.