Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6011
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการตายโดยสงบด้วยการปฏิเสธการรักษา ในกรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวอันเนื่องจากอุบัติเหตุ
Other Titles: LEGAL MEASURES ON PEACEFUL DEATH THROUGH MEDICAI TREATMENT REFUSE BY THE PATIENT: A CASE OF UNCONSCIOUS PATIENT SUFFERING FROM ACCIDENT
Authors: ศักรินทร์ ศิริมานะ
Keywords: การตายโดยสงบ
การปฏิเสธการรักษา
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการตายโดย สงบด้วยการปฏิเสธการรักษา โดยศึกษาตั้งแต่แนวคิด ทฤษฎี ประวัติ ความเป็นมา และความสำคัญ ของการตายโดยสงบด้วยการปฏิเสธการรักษา ตลอดจนกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับการตายโดย สงบด้วยการปฏิเสธการรักษา ทั้งนี้เพราะเมื่อ พ.ศ.2550 ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับ การตายโดยสงบด้วยการปฏิเสธการรักษามาบังคับใช้ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 จากการศึกษาพบว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 คือ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลและคงไว้ซึ่งคุณค่าและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ การปฏิเสธ การรักษาพยาบาลโดยการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าเป็นเพียงเพื่อแสดงสิทธิในฐานะ เจ้าของชีวิตเพื่อแจ้งแก่ญาติในช่วงสุดท้ายของชีวิตที่ไร้สติสัมปชัญญะว่าไม่ประสงค์จะรับบริการ ทางการแพทย์ ซึ่งไม่ใช่กรณีการอนุญาตให้ผู้อื่นมาทำลายชีวิต เป็นการให้สิทธิประชาชน 2 ประการ คือ สิทธิที่จะแสดงความจำนงเกี่ยวกับวิธีการรักษาพยาบาลและสิทธิที่จะปฏิเสธการรับการ รักษาพยาบาล โดยมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคล และคงไว้ซึ่งคุณค่าและศักด์ิศรีความ เป็นมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกที่จะจากไปโดยวิถีธรรมชาติ ไม่ถูกแทรกแซงการ ตายเกินกว่าจำเป็น อันนำมาซึ่งความทุกข์ทรมาน และภาระค่าใช้จ่าย โดยกำหนดให้ผู้ป่ วยแสดง เจตนาไว้ล่วงหน้าว่าไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระ สุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่ วยนั้น จากกรณีดังกล่าวมีปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับการตายโดยสงบที่กล่าวมานี้ไม่สามารถที่จะใช้บังคับได้ ถ้าผู้ป่ วยที่ไม่รู้สึกตัวไม่ได้มีการ แสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าว่าไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายใน วาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย (การปฏิเสธการรักษา) กฎหมาย เกี่ยวกับการตายโดยสงบด้วยการปฏิเสธการรักษาก็จะไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ แพทย์ผู้ทำการ รักษาจึงต้องใช้เครื่องมือเพื่อยื้อชีวิตต่อไป ทั้งๆที่ผู้ป่ วยไม่มีทางจะรักษาให้หายได้แล้ว รอเพียงวัน ตายเท่านั้น โดยวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะกล่าวถึงเฉพาะกรณีผู้ป่ วยที่ไม่รู้สึกตัวอันเนื่องจากอุบัติเหตุ อุบัติเหตุ มีความหมายว่า เหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดหมายได้ ซึ่งผู้ป่ วยที่ไม่รู้สึกตัวอันเนื่องจาก อุบัติเหตุนั้น มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.2550 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดง เจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือ เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่ วย พ.ศ.2553 ในส่วนที่บกพร่องอยู่ เพื่อให้กฎหมายดังกล่าว สามารถนำมาบังคับใช้ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวอันเนื่องจากอุบัติเหตุได้ โดยเพิ่มเติมวรรคใน มาตรา 12 ให้ สามี ภริยา หรือ ญาติของผู้ป่วย หรือ บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย สามารถ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ตั้งตนเองเป็นผู้แทนในการแสดงเจตนาในการปฏิเสธการรักษาแทนผู้ป่ วยที่ ไม่รู้สึกตัวอันเนื่องจากอุบัติเหตุได้
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6011
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf74.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.