กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6020
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความต้องการพัฒนาตนเองที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลัก ของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรในระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 กรมศุลกากร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: JOB MOTIVATION AND SELF-DEVELOPMENT NEEDS AFFECTING CORE COMPETENCY OF CUSTOMS TECHNOCRATS AT OPERATIONAL LEVEL, OFFICE OF CUSTOMS REGION 1, CUSTOMS DEPARTMENT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณี ภู่ชื่น
คำสำคัญ: แรงจูงใจ
การพัฒนาตนเอง
การทำงาน
ข้าราชการ
กรมศุลกากร
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสมรรถนะหลักของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 กรมศุลกากร 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงาน ศุลกากรภาคที่ 1 กรมศุลกากร 3) เพื่อศึกษาระดับความต้องการพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 กรม ศุลกากร 4) เพื่อประเมินสมรรถนะหลัก จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการ ปฏิบัติงานที่เป็นอยู่ของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงาน ศุลกากรภาคที่ 1 กรมศุลกากร 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับ สมรรถนะหลักของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงาน ศุลกากรภาคที่ 1 กรมศุลกากร 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ความต้องการพัฒนาตนเองกับสมรรถนะ หลักของข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 กรมศุลกากร 7) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการ ศุลกากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 กรมศุลกากร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติงาน สังกัดสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตร ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์หาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบที, การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหูคูณ (stepwise regression) และค่าสถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประเมินสมรรถนะหลักทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามลักษณะ ประชากรศาสตร์ พบว่า อายุและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีสมรรถนะหลักในการ ปฏิบัติงานแตกต่างกันด้วย ผลการศึกษาระดับปัจจัยแรงจูงใจและความต้องการพัฒนาตนเอง ยัง พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาหาความสัมพันธ์ปัจจัยแรงจูงใจและความต้องการพัฒนา ตนเอง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสมรรถนะหลักในระดับสูง นอกจากนี้ปัจจัยแรงจูงใจและความ ต้องการพัฒนาตนเอง ยังมีอิทธิพลในทางบวกต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 กรมศุลกากร
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6020
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Abstract.pdf167.56 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น