กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6023
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการชำระค่าสินค้าล่วงหน้า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS IN CONSUMER PROTECTION RELATED TO PAYING FOR GOODS IN ADVANCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทรายแก้ว อัทธกิจศิริกุล
คำสำคัญ: การคุ้มครองผู้บริโภค
การชำระค่าสินค้าล่วงหน้า
ปัญหากฏหมาย
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการชำระ ค่าสินค้าล่วงหน้า โดยสัญญาซื้อขายสินค้าที่มีการชำระราคาล่วงหน้านี้ถือ เป็นสัญญารูปแบบหนึ่งที่ มีลักษณะแตกต่างไปจากการซื้อขายสินค้าแบบดั้งเดิม และเนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย รองรับปัญหาดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคมาปรับใช้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายทั่วไปไม่ครอบคลุมกับ สภาพปัญหาในการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า จากการศึกษาพบว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ยังไม่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายสินค้าที่มีการชำระราคาล่วงหน้า โดยตรง รวมทั้งไม่มีบทนิยามคำว่า “สัญญาซื้อขายสินค้าหรือบริการล่วงหน้า” ไว้เป็นการเฉพาะ จึง เกิดปัญหาในการคุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้ง ยังมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาใน สัญญาซื้อขายสินค้าล่วงหน้า แม้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 14 (3) ได้ กำหนดให้มีคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา และได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ที่สำคัญของ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาไว้ในมาตรา 35 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาจะ สามารถประกาศให้ธุรกิจใดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้ จะต้องมีกฎหมายกำหนดให้สัญญานั้น ต้องทำเป็ นหนังสือเท่านั้น แต่สำหรับการซื้อขายสินค้าที่มีการชำระค่าสินค้าล่วงหน้านั้น ไม่มี กฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นหนังสือ การซื้อขายสินค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นธุรกิจที่คณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญามีอำนาจที่จะประกาศให้เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้ ประกอบกับกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความรับผิดของผู้ประกอบการต่อความเสียหายอันเกิดจากการชำระราคาสินค้าล่วงหน้า จากกรณีให้ ผู้กระทำผิดรับผิดเพียงโทษเปรียบเทียบปรับ โดยมิได้มีการกำหนดขอบเขตของการใช้โทษ เปรียบเทียบปรับกับผู้ประกอบธุรกิจ ทำให้เห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่นั้น มีลักษณะที่มีความยืดหยุ่น ผ่อนปรนกับผู้ประกอบธุรกิจมากเกินไป และยังมีปัญหาเกี่ยวกับการนำพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อ สัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาปรับใช้ เพราะกฎหมายฉบับนี้จะให้ความคุ้มครองต่อเมื่อมีคดี ขึ้นสู่ศาลแล้วเท่านั้น และศาลเท่านั้นที่เป็ นผู้มีอำนาจพิจารณาชี้ขาด ซึ่งอาจมีความล่าช้าทำให้ ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม จากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะ ให้แก้ไขเพิ่มเติม บทนิยามคำว่า “สัญญา” ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้ครอบคลุมถึงสัญญาซื้อ ขายสินค้าที่มีการชำระราคาล่วงหน้า ประกอบกับเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง กำหนดแบบสัญญาในกรณีชำระราคาสินค้าล่วงหน้า เพื่อให้คณะกรรมการด้านสัญญามีอำนาจ ในการออกคำสั่งกับผู้ประกอบการ อีกทั้งควรแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษของผู้ประกอบการให้ มากขึ้น และควรแก้ไขเพิ่มเติม บทนิยามคำว่า “ผู้ประกอบธุรกิจหรือวิชาชีพ” ในพระราชบัญญัติว่า ด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ให้ครอบคลุมถึงสัญญาซื้อขายสินค้าที่มีการชำระราคา ล่วงหน้าด้วย
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6023
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf69.89 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น