Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6038
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างของลูกจ้าง
Other Titles: LEGAL PROBLEMS RELATED TO THE EMPLOYMENT CONTRACT TERMINATION
Authors: เสกสรรค์ ธะในสวรรค์
Keywords: การสิ้นสุดสัญญา
สัญญาจ้าง
ลูกจ้าง
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงการสิ้นสุดสัญญาจ้างของลูกจ้าง เนื่องจากสัญญาจ้างแรงงานเป็ นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาสองฝ่ ายต่างมีสิทธิและหน้าที่ ด้วยกัน โดยนายจ้าง มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกจ้างทำงานและมีหน้าที่จ่ายค่าตอบแทนให้กับลูกจ้าง และลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้กับนายจ้างเพื่อให้เกิดสิทธิในการเรียกร้องค่าตอบแทนการทำงาน และ ทั้งสองฝ่ ายมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือทั้งสองฝ่ ายไม่ปฏิบัติ ตามสิทธิและหน้าที่ของตน ทำให้เกิดปัญหา รัฐจึงต้องเข้ามาควบคุม ดูแลนายจ้างและคุ้มครอง ลูกจ้าง ให้ได้รับความเป็ นธรรมทั้งสองฝ่ าย ด้วยการบัญญัติกฎหมายทั้งกฎหมายหลักอย่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายทั่วไปอย่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายเฉพาะอย่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ แต่ก็ยังมี ปัญญาในการตีความกฎหมายรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอีกเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะปัญหา เกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างของลูกจ้าง จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างของลูกจ้าง ทั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงานและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ทำให้เกิดปัญหา อย่างมากทั้งกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้ต้องรับผิดต่อนายจ้าง กรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากภัย ธรรมชาติ หรือเพราะลักษณะของงานโครงการของกิจการร่วมค้า หรือโดยผลของกฎหมายสำหรับ การจ้างแรงงานไร้ฝีมือชาวต่างชาติและที่สำคัญอย่างยิ่งปัญหาการสิ้นสุดสัญญาจ้างด้วยเหตุ เกษียณอายุในภาคเอกชนไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ มีเพียงข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ ปรากฏในข้อบังคับการทำงานหรือในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทำให้เกิดปัญหาในทางสัญญา กลายเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานก่อนครบกำหนด อายุเกษียณ โดยมิได้มีเหตุผิดนัดถือว่าเป็นการเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ การเลิกสัญญาโดยไม่ได้พิจารณาถึงเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งๆ ที่ลูกจ้างยังคง มีความสามารถในการทำงานให้กับนายจ้างได้โดยไม่บกพร่องนั้น เป็นการขัดต่อกฎหมายคุ้มครอง แรงงานอันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและหากครบ กำหนดอายุเกษียณตามที่ตกลงกันไว้แล้ว นายจ้างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องการจ่ายเงินให้กับ ลูกจ้างแล้ว แต่ยังมีการทำงานต่อไปอีก ผลของสัญญาถือว่าเป็นการทำสัญญาจ้างกันใหม่และหากมี การเลิกสัญญาภายหลัง นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างอีกครั้ง ซึ่งไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง ทำ ให้เป็นปัญหาต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก จากข้อค้นพบดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้แก้ไขกฎหมาย กรณีลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิก สัญญา สามารถบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หากมีเหตุอันสมควรและไม่ถือว่า เป็นการผิดสัญญาจ้าง สำหรับกรณีของนายจ้างที่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเพราะเหตุสุดวิสัย ร้ายแรงจากภัยธรรมชาติจนต้องปิดกิจการ สามารถบอกเลิกสัญญาได้โดยบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อย กว่า 3 เดือน ก่อนปิดกิจการ โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างปิดกิจการจน ครบถ้วน แต่ไม่ต้องรับผิดในค่าชดเชยเพราะมีเหตุจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ กรณีการเลิกสัญญา จ้างเพราะลักษณะของงานกิจการร่วมค้าและผลของกฎหมายจากการจ้างแรงงานไร้ฝีมือชาวต่างชาติ ควรให้ถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและการสิ้นสุดสัญญาจ้างโดยเหตุเกษียณอายุ ควร บัญญัติกฎหมายให้ชัดเจนคลอบคลุมสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็น ธรรมทั้งนายจ้างและลูกจ้างอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6038
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf78.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.