กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6042
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม ตรวจสอบการบริหารงาน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS RELATING WITH CONTROLLING AND INSPECTING OF ADMINITRATION IN UNIVERSITIESIN THE DIRECTION OF THE STATE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พนิดา โพธิ์จิตร
คำสำคัญ: ปัญหาทางกฎหมายม
การควบคุม
การตรวจสอบการบริหารงาน
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้ศึกษาจะทำการศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม ตรวจสอบการบริหารงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการ สรรหานายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี และหัวหน้า ส่วนงาน/คณบดี อำนาจหน้าที่ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา รวมถึงอำนาจกำกับดูแลมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐด้วย โดยทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research methodology) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in – depth interview) จากการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นนิติบุคคล และจัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายมหาชน ซึ่งมีสถานะเป็นองค์กรในภาครัฐที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย และมีอธิการบดี เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย มีคณบดีหรือหัวหน้าส่วนงานอื่นรับผิดชอบการบริหารงานของคณะหรือส่วนงานอื่น และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แต่มิได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา ในตำแหน่งดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของสภามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไว้ จึงเกิดปัญหาการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ข้อเสนอแนะเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาในพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงอธิการบดี โดยกำหนดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ทางด้านการบริหาร การอุดมศึกษา ด้านการบริหารการเงินและงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านกฎหมาย รวมทั้งให้มีกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยโดยวิธีการเลือกตั้งจากผู้ปฏิบัติงาน ในมหาวิทยาลัย จำนวนไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการสรรหาด้วย ส่วนคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการควบคุม ตรวจสอบการบริหารงาน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจกำกับ ดูแล และตรวจสอบการใช้อำนาจของสภามหาวิทยาลัย ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและให้สอดคล้องกับนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6042
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Abstract.pdf541.29 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น