Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6050
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุพรรณิการ์ รามางกูรen_US
dc.date.accessioned2019-03-08T04:09:22Z-
dc.date.available2019-03-08T04:09:22Z-
dc.date.issued2562-03-08-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6050-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญ ของปัญหากฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนในการคุ้มครองสิทธิคนต่างด้าวผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทย โดยทำการศึกษาประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของกฎหมายคนเข้าเมือง กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว รวมถึงกฎหมายต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายคนเข้าเมืองของไทยให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พบว่ามีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้วทั้ง 7 ฉบับ ส่งผลให้คนต่างด้าวผู้อพยพไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว รวมถึงหลักการในการส่งกลับคนต่างด้าวผู้อพยพที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและประเด็นการไม่แยกเด็กออกจากบิดามารดา ยกเว้นความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว อีกทั้งยังพบว่าหลักปฏิบัติในการควบคุมตัวคนต่างด้าวผู้อพยพและผู้ที่ขอลี้ภัยยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้วทั้ง 7 ฉบับ ส่งผลให้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวผู้อพยพหรือผู้ที่ขอลี้ภัยที่เข้ามาในประเทศไทย จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว รวมถึงปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในเรื่องการห้ามส่งผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นคนต่างด้าวกลับประเทศ หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าเขาผู้นั้นจะต้องถูกส่งกลับไปทรมานเพื่อให้สอดคล้อง กับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว และปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวคนต่างด้าว ผู้อพยพและผู้ขอลี้ภัยที่ถูกควบคุมตัวระหว่างรอการส่งตัวกลับประเทศ ให้มีสิทธิได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไป ลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้วen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectสิทธิมนุษยชนen_US
dc.subjectคนต่างด้าวผู้อพยพen_US
dc.subjectผู้ลี้ภัยen_US
dc.titleปัญหากฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนในการคุ้มครองสิทธิคนต่างด้าว ผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS ON HUMAN RIGHTS FOR THE PROTECTION OF THE RIGHTS OF FOREIGN IMMIGRANTS IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf196.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.