กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6050
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนในการคุ้มครองสิทธิคนต่างด้าว ผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS ON HUMAN RIGHTS FOR THE PROTECTION OF THE RIGHTS OF FOREIGN IMMIGRANTS IN THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพรรณิการ์ รามางกูร
คำสำคัญ: สิทธิมนุษยชน
คนต่างด้าวผู้อพยพ
ผู้ลี้ภัย
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญ ของปัญหากฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนในการคุ้มครองสิทธิคนต่างด้าวผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทย โดยทำการศึกษาประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของกฎหมายคนเข้าเมือง กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว รวมถึงกฎหมายต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายคนเข้าเมืองของไทยให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พบว่ามีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้วทั้ง 7 ฉบับ ส่งผลให้คนต่างด้าวผู้อพยพไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว รวมถึงหลักการในการส่งกลับคนต่างด้าวผู้อพยพที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและประเด็นการไม่แยกเด็กออกจากบิดามารดา ยกเว้นความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว อีกทั้งยังพบว่าหลักปฏิบัติในการควบคุมตัวคนต่างด้าวผู้อพยพและผู้ที่ขอลี้ภัยยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้วทั้ง 7 ฉบับ ส่งผลให้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวผู้อพยพหรือผู้ที่ขอลี้ภัยที่เข้ามาในประเทศไทย จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว รวมถึงปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในเรื่องการห้ามส่งผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นคนต่างด้าวกลับประเทศ หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าเขาผู้นั้นจะต้องถูกส่งกลับไปทรมานเพื่อให้สอดคล้อง กับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว และปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวคนต่างด้าว ผู้อพยพและผู้ขอลี้ภัยที่ถูกควบคุมตัวระหว่างรอการส่งตัวกลับประเทศ ให้มีสิทธิได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไป ลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf196.37 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น