Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6060
Title: ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความเป็นผู้เสียหายของราษฎร ในคดีจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
Other Titles: PROBLEMS AND OBSTACLES RELATED TO VICTIM CONDITION OF CITIZENS IN TRAFFIC CASE SUBJECT TO THE LAND TRAFFIC ACT, B.E.2522 (A.D.1979)
Authors: วิโรจน์ จริตรัมย์
Keywords: ผู้เสียหาย
คดีจราจร
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: การที่ทุกข้อหาความผิดในคดีจราจรเป็นความเสียหายแก่รัฐเท่านั้นไม่ให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นผู้เสียหายจึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินคดีของผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการประกันความเป็นธรรมเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นต่อผู้ใช้รถใช้ถนน จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายที่รัฐใช้ควบคุมการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่เพื่อจุดมุ่งหมายให้ใช้รถใช้ถนนบนกฎและกติกาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดบนพื้นฐานของความปลอดภัยของประชาชนและพบว่าให้รัฐเท่านั้นในการที่จะใช้อำนาจในทางปกครองควบคุมการจราจรทางบกโดยไม่ได้เปิดช่องให้ราษฎรผู้เสียหายจากการใช้รถใช้ถนนเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายหรือผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้จะได้รับความเสียหายตามความเป็นจริงหรือผู้เสียหายโดยพฤตินัยก็ตาม กรณีดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหาต่อราษฎรผู้ใช้รถใช้ถนนที่ไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างเพียงพอในการที่จะใช้สิทธิทางศาลหรือสิทธิในการยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายดังกล่าวได้และพบว่าข้อหาตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ก็ไม่มีผลผูกพันคำพิพากษาไปถึงคดีแพ่งด้วย กรณีดังกล่าวจึงทำให้ผู้เสียหายจะต้องนำสืบพิสูจน์ความเสียหายนั้นอีกครั้งก่อให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนในการดำเนินคดีและไม่เป็นไปตามหลักความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหายในการดำเนินคดีในการรับฟังพยานหลักฐานที่จะแตกต่างจากคดีอาญา จากการศึกษาเห็นควร ให้ผู้ราษฎรเป็นผู้เสียหายในคดีตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 โดยให้เพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยความเป็นผู้เสียหายในคดีจราจรทางบกว่าคดีที่เกิดจากการกระทำความผิดและเกิดความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกายและหรือทรัพย์สินราษฎรเป็นผู้เสียหาย เพราะถือว่าราษฎรเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง ส่วนความผิดที่ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินของผู้อื่นก็ให้รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายเพื่อให้ราษฎรสามารถใช้สิทธิทางศาลทั้งการดำเนินคดีและการยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้และจะทำให้มีผลผูกพันและถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาไปยังคดีแพ่งด้วยเพื่อให้เป็นการลดระยะเวลาและขั้นตอนในการนำสืบพิสูจน์ความผิดซ้ำอีก
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6060
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf99.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.