กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6062
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องฉีดพลาสติกสำหรับ ชิ้นส่วนยานยนต์ ของโรงงานแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: IMPROVING OVERALL EQUIPMENT EFFECTIVE OF PLASTIC INJECTION MACHINE FOR AUTO PARTS OF FACTORY IN EASTERN SEABOARD INDUSTRIAL EATATES
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นภธนันต์ โชคศรัณทิพย์
คำสำคัญ: การเพิ่มประสิทธิผล
เครื่องฉีดพลาสติก
ชิ้นส่วนยานยนต์
อีสเทิร์นซีบอร์ด
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาหาสาเหตุของการเกิดชิ้นงานเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์โดยวิธีการจัดกลุ่มชนิดของเม็ดพลาสติก ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทฉีดพลาสติก พบปัญหาชิ้นงานเสียอยู่ 3 ลักษณะ 1) เป็นการเสียรูปที่เกิดจากมีวัตถุดิบชนิดอื่นปลอมปนอันเนื่องมาจากถังบดวัตถุดิบอยู่ติดกัน 2) ลักษณะชิ้นงานเกิดจุดสีดำที่ชิ้นงาน ซึ่งอาจจะมีหลายสาเหตุ เช่นมีสิ่งปลอมปนใน เนื้อพลาสติกที่ใช้ฉีด หรืออาจจะเกิดจากการไหม้ของ พลาสติกในขณะที่ทำการฉีดชิ้นงาน 3) เกิดจากการฉีดซํ้าที่ชิ้นงานเดิมที่เกิดจากการทำงานในขณะเปิด-ปิด แม่พิมพ์ผิดปกติ หรือ อาจจะเกิดจาก ชิ้นงานค้างอยู่ที่แม่พิมพ์ จากการปรับปรุงการผลิตตามกลุ่มของวัตถุดิบการผลิตได้ส่งผลให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยข้อมูลของก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุงแสดงให้เห็นได้ว่าร้อยละของชิ้นงานของเสียเฉลี่ยตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2559 อยู่ที่ร้อยละ 11 – 13 ของยอดงานการผลิต ลดลงเหลืออยู่ที่ร้อยละ 5 - 6 ของยอดการผลิตในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม นอกจากนี้ ผลประโยชน์ทางอ้อมคือ ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตตั้งแต่ 48,872 บาทต่อเดือน เหลือเพียง 18,293 บาทต่อเดือน และลดการใช้วัตถุดิบในขั้นตอนการติดตั้งแม่พิมพ์จาก 91 กิโลกรัมต่อเดือน เหลือเพียง 49 กิโลกรัมต่อเดือน (เครื่องจักรที่ 1) และจาก 80 กิโลกรัมต่อเดือนเหลืออยู่ที่ 28 กิโลกรัมต่อเดือน (เครื่องจักรที่ 2) สิ่งเหล่านี้ส่งผลทำให้บริษัทมีผลกำไรเพิ่มขึ้น
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6062
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf86.27 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น