กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6063
ชื่อเรื่อง: การปล่อยชั่วคราวโดยการนำมาตรการคุมขังแบบไม่ควบคุมตัว โดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROVISIONAL RELEASE BY APPLYING THE NON-CUSTODIAL MEASURES USING THE ELECTRONIC MONITORING (EM)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันท์นภัส สุปิยะพันธ์
คำสำคัญ: มาตรการคุมขังแบบไม่ควบคุมตัว
เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาการปล่อยชั่วคราวโดยการนำมาตรการคุมขังแบบ ไม่ควบคุมตัวโดยนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย เนื่องจากการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาโดยเรียกหลักประกันนั้นถือเป็นปัญหาสำคัญในระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย ในกลุ่มผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่มีหลักประกันจะไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวต้องถูกควบคุมตัวไว้ในเรือนจำ รวมกับนักโทษเด็ดขาดและได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็นนักโทษเด็ดขาดซึ่งขัดกับหลักการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยและขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน เพราะบุคคลเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดจริงจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้ จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยนำมาตรการคุมขังแบบไม่ควบคุมตัวโดยนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับขั้นตอนการปล่อยชั่วคราว และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 ให้อำนาจเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน การวินิจฉัยจึงมีลักษณะเป็นไปตามความคิดเห็นส่วนบุคคลมากกว่าจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และบทบัญญัติดังกล่าวยังเป็นการสร้างความไม่เสมอภาคทางกฎหมายให้กับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีฐานะทางสังคมแตกต่างกันด้วย จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยนำมาตรการคุมขังแบบไม่ควบคุมตัวโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในขั้นตอนการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยโดยกำหนดประเภทคดี ประเภทของผู้ต้องหาหรือจาเลย รูปแบบและเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมถึงบทลงโทษผู้ต้องหาหรือจำเลยในกรณีที่ทำลายเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ควรแก้ไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 ให้มีหลักเกณฑ์การวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่มีความชัดเจน มีการไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในทุกคดี และควรยกเลิกการเรียกหลักประกันรวมถึงแนวปฏิบัติที่ยึดการเรียกหลักประกันเป็นหลักในการปล่อยชั่วคราวเพื่อให้ระบบการปล่อยชั่วคราวของประเทศไทยมีประสิทธิภาพ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยอย่างแท้จริงและเพื่อให้เกิดความเสมอภาค ขึ้นในสังคม
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6063
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf74.65 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น