Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6064
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทวีศิลป์ ปราบกรีen_US
dc.date.accessioned2019-03-08T05:00:41Z-
dc.date.available2019-03-08T05:00:41Z-
dc.date.issued2562-03-08-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6064-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractปัจจุบันปัญหาการทุจริตและประพฤติโดยมิชอบในวงราชการในประเทศไทย ยังคงเป็นปัญหาที่สาคัญของสังคมที่รอวันแก้ไขและนับวันจะยังคงทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัญหาที่ทาลายระบบการบริหารราชการของรัฐบาล รวมถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้นจึงทาให้จานวนคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติโดยมิชอบในวงราชการในแต่ละปีก็ยังมีปริมาณคดีจานวนมากและมีแนวโน้มจะมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จึงกลายเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อกระบวนการพิจารณาคดีของศาล ทาให้การพิจารณาคดีมีความล่าช้าออกไป และส่งผลให้ความเกรงกลัวต่อความผิดจึงลดน้อยลงด้วย จากการศึกษาพบว่ากระบวนการสืบสวนสอบสวนของ ป.ป.ช., ป.ป.ท. และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองไม่มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ทั้งศาลยุติธรรมก็มีถึงสามชั้นศาลจึงส่งผลให้คดีมีความล่าช้า ในขณะที่ประชาชนเข้าถึงต่อกระบวนการสืบสวนสอบสวนและการพิจารณาคดีได้ยากเพราะประชาชนมิได้อยู่ในฐานะผู้เสียหาย และหน่วยงานของรัฐที่เป็นเอกภาพเพียงองค์กรเดียวไม่มี ในขณะที่ ป.ป.ท. เองก็มิได้เป็นองค์กรอิสระ ทั้งยังต้องอยู่ในกากับดูแลของกระทรวงยุติธรรม ปัญหาในการนาสืบพยานต่อการผลักภาระการพิสูจน์ความผิดของจาเลยในคดีทุจริตและประพฤติโดยมิชอบในวงราชการให้แก่โจทก์เป็นผู้พิสูจน์ความผิดของจาเลย ซึ่งเป็นไปตามระบบกล่าวหานั้นทาได้ยาก และถึงแม้ว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองจะใช้ระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวนก็ตามแต่ก็เป็นการจากัดอยู่แต่เฉพาะคดีของนักการเมืองเท่านั้น ปัญหาการไม่มีมาตรการที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจาเลยซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับมาตรการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แล้ว กลับมีอานาจในการยึด ทรัพย์สินได้ทันทีเมื่อมีการกล่าวโทษ โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาในการพิสูจน์ถึงทรัพย์สินดังกล่าว และการที่ไม่มีศาลชานัญพิเศษที่มีอานาจโดยตรงเกี่ยวกับการพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติโดยมิชอบในวงราชการ อาจจะทาให้เกิดลักลั่นในมาตรฐานการลงโทษ เพราะรูปแบบลักษณะการกระทาความผิดในการพิจารณาคดีดังกล่าว แตกต่างไปจากรูปแบบลักษณะการกระทาความผิดในการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่า ป.ป.ช., ป.ป.ท. และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองต้องกาหนดให้มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการสืบสวนสอบสวน ต้องลดขั้นตอนพิจารณาคดีที่มีถึงสามชั้นศาลโดยต้องมีเพียงสองชั้นศาลเท่านั้น ต้องกาหนดให้ประชาชนเข้าถึงต่อกระบวนการสืบสวนสอบสวนและการพิจารณาคดีในฐานะผู้เสียหายด้วยอีกทางหนึ่ง ต้องมีหน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์อิสระเพียงองค์กรเดียวเท่านั้นที่มีอานาจในการสืบสวนสอบสวนคดีทุจริตและประพฤติโดยมิชอบในวงราชการเพื่อความเป็นเอกภาพคือ ป.ป.ช. วิธีการค้นหาความจริงของศาลต้องใช้ระบบผสม คือนาข้อดีของระหว่างระบบกล่าวหาและระบบไต่สวนมาใช้ ต้องมีมาตรการเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยการยึดทรัพย์ทันทีเมื่อมีการกล่าวโทษโดยให้ผู้ถูกกล่าวหามีหน้าที่พิสูจน์ทรัพย์สิน และต้องมีการจัดตั้งศาลคอร์รัปชั่นให้มีฐานะเป็นศาลชานัญพิเศษพิจารณาเฉพาะคดีทุจริตและประพฤติโดยมิชอบในวงราชการเท่านั้นen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectการดาเนินกระบวนพิจารณาen_US
dc.subjectคดีทุจริตและประพฤติโดยมิชอบen_US
dc.subjectราชการen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการดาเนินกระบวนพิจารณา คดีทุจริตและประพฤติโดยมิชอบในวงราชการen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS AND OBSTACLES IN THE PROCEEDINGS ON THE CORRUPTION AND DISHONESTY CASES WITHIN THE GOVERNMENT CIRCLEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf203.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.