กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6073
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการออกเสียงประชามติของผู้ต้องหา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL MEASURES ON THE REFERENDUM VOTE OF THE ACCUSED PERSONS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุวัฒน์ เสน่ห์
คำสำคัญ: การออกเสียง
ประชามติ
ผู้ต้องหา
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายในการออกเสียงประชามติของ ผู้ต้องหา เพื่อศึกษาสิทธิในการออกเสียงประชามติของผู้ต้องหาที่ต้องถูกคุมขังอยู่ด้วยหมายของศาล หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จากการศึกษาพบว่า หลักรัฐธรรมนูญไทยถือว่าบุคคลดังกล่าวยังเป็น ผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดจริงซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หลักรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้บัญญัติให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นผู้มี สิทธิออกเสียงประชามติ แต่เหตุใดรัฐจึงต้องจำกัดสิทธิในการออกเสียงประชามติของผู้ต้องหาด้วย ทั้งที่สิทธิเลือกตั้งและสิทธิในการออกเสียงประชามติดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื่นฐานในการมีส่วนร่วม ในทางการเมืองของประชาชนเหมือนกัน ซึ่งการใช้สิทธิออกเสียงประชามติไม่ได้กระทบหรือ ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ดังนั้น จึงเห็น ควรตัดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดคุณสมบัติของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทที่ บัญญัติห้ามบุคคลที่ต้องถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายออกไป และ ควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พุทธศักราช 2552 มาตรา 15 ซึ่งรัฐควรจัดให้ผู้ต้องหาได้ใช้สิทธิในการออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่ เห็นชอบในเรื่องที่รัฐจัดทำประชามติ ผ่านรูปแบบการลงคะแนนเสียงทางไปรษณีย์ เพื่อให้มีการ ออกเสียงประชามติอย่างเท่าเทียมกันในสังคม
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6073
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf48.83 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น