Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6110
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Other Titles: FACTORS AFFECTING THE PERFORMANCE EFFECTIVENESS OF THACHERS AT RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY
Authors: ณิชาภัทร ยุทธไตร
Keywords: ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Issue Date: 9-March-2562
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการ ปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคร์ิท (Likert) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยการจูงใจในการปฏิบัติงานและ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 25 ข้อ และ 20 ข้อ เท่ากับ .903 และ .937 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความ เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA ซึ่งเมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยการทดสอบตามวิธีการ LSD และสมการพยากรณ์พหุคูณ (Multiple Regression) แบบสเต็บไวส์ (Stepwise) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่คือ เพศชายคิดเป็นร้อยละ 56.10 โดยมีอายุ 31-40 ปี ร้อยละ 44.50 มีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 36.80 มีระดับการศึกษาระดับปริญญาโทคิดเป็นร้อยละ 80.60 และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.40 2. การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยการจูงใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ- ราชนครินทร์โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อยคือ ลักษณะของงาน เป็นลำดับที่ 1 ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน เป็น ลำดับที่ 2 ด้านความสัมฤทธ์ิผลของการทำงาน เป็นลำดับที่ 3 ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ เป็น ลำดับที่ 4 และด้านความก้าวหน้าในการทำงาน เป็นลำดับที่ 5 3. การวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏราช นครินทร์ตามพันธกิจ 4 ด้าน โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ การผลิตบัณฑิต เป็นลำดับที่ 1 การทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม เป็นลำดับที่ 2 การบริการวิชาการ เป็นลำดับที่ 3 และการวิจัย เป็นลำดับที่ 4 4. การเปรียบเทียบปัจจัยการจูงใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏราช นครินทร์ ในข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ และระยะเวลาในการ ปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านระดับ การศึกษาซึ่งอาจารย์ที่มีระดับการศึกษาปริญญาเอก มีปัจจัยจูงใจมากกว่า อาจารย์ที่มีระดับ การศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏราช นครินทร์ ในข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 6. การวิเคราะห์ปัจจัยการจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการ ปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยรวม พบว่า ประสิทธิผลในการ ปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตามพันธกิจ 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กับ ปัจจัยการจูงใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและจากสมการพยากรณ์พหุคูณ (Multiple Regression) แบบสเต็บไวส์ (Stepwise) สามารถเขียนสมการพยากรณ์ทำนายประสิทธิผลในการทำงานของ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในรูปของคะแนนดิบ ได้ดังนี้ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน = - 0.168 + .488 (ความสัมฤทธ์ิผลการทำงาน) + .206 (ความก้าวหน้าในการทำงาน) + .215 (ลักษณะของงาน)
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6110
Appears in Collections:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf78.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.