Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6112
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา: บริษัท เอเซีย พรีซิชั่น จำกัด
Other Titles: RELATIONSHIP OF HAPPINESS IN WORK AFFECTING PERFORMANCE EFFICIENCY AND EFFECTIVENESS: CASE STUDY OF ASIA PRECISION CO., LTD.
Authors: จุฑาภรณ์ กุลศิริรัตน์
Keywords: ความสุขในการทำงาน
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน
Issue Date: 9-March-2562
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็ นการศึกษา “ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของ พนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัท เอเซีย พรี- ซิชั่น จำกัด” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระดับแรงจูงใจ เกี่ยวกับโครงการส่งเสริม ความสุขในการทำงาน (Happy workplace) ตามองค์ประกอบ 8 ด้านของพนักงาน 2) เพื่อศึกษา ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ แรงจูงใจ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงาน ตามองค์ประกอบ 8 ด้าน กับ แรงจูงใจ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งกลุ่ม ตัวอย่างของการศึกษาในครั้งนี้คือ พนักงานบริษัท เอเซีย พรีซิชั่น จำกัด จำนวน 172 คน โดยใช้ แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t test) วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว (One-way analysis of variance) การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และค่า สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. พนักงานบริษัท เอเซีย พรีซิชั่น จำกัด มีระดับความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริม ความสุขในการทำงาน ตามองค์ประกอบ 8 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. พนักงานบริษัท เอเซีย พรีซิชั่น จำกัด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ แรงจูงใจในการ ปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. พนักงานบริษัท เอเชีย พรีซิชั่น จำกัด ที่มีข้อมูลประชากรศาสตร์ แตกต่างกันมีความ พึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมความสุขในการทำงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ได้แก่ อายุการทำงาน โดยพบว่า พนักงานที่มีอายุการทำงานน้อยกว่า 3 ปี มีความพึง พอใจต่อโครงการส่งเสริมความสุขในการทำงาน มากกว่าพนักงานที่มีอายุการทำงานมากกว่า 5 ปี ส่วนด้านเพศมีความแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านสุขภาพดี (Happy body) ที่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสุขในการทำงาน ตามองค์ประกอบทั้ง 8 ด้าน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยแรงจูงใจ การปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ความสุขในการทำงาน ตามองค์ประกอบทั้ง 8 ด้าน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลใน การปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6112
Appears in Collections:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf76.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.