กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6118
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงาน บริษัทแห่งหนึ่งในเขตนอกนิคมอุตสาหกรรม ในอาเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: FACTORS INFLUENCING RESIGNATION TREND OF EMPLOYEES: A COMPANY OUTSIDE THE INDUSTRIAL ESTATE, IN PHANOM SARAKHAM DISTRICT,CHACHOENGSAO PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: หลาน หลี่
คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออก
การลาออก
พนักงานบริษัท
นิคมอุตสาหกรรม
จังหวัดฉะเชิงเทรา
วันที่เผยแพร่: 9-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแนวโน้มการลาออกของพนักงาน 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงาน 3) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน หน่วยงาน รายได้ สถานอาพสมรส อาระครอบครัว ที่ส่งผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงาน 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออก ที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงาน ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานเฉพาะกลุ่มคนไทยของบริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตนอกนิคมอุตสาหกรรม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างพนักงาน จานวน175 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และสมการถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มการลาออกของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกได้แก่ ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านลักษณะงาน ด้านความเจริญก้าวหน้าในงาน ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านติดต่อสื่อสารอายในองค์กร และด้านสอาพแวดล้อมในการทางาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออก พบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์รวมถึง เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน หน่วยงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อผล แนวโน้มการลาออกที่ไม่แตกต่างกัน แต่ลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านสถานอาพแต่ต่างกัน มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานโดยรวมแตกต่าง 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออก มีดังนี้ ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านความเจริญก้าวหน้าในงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน อิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6118
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf627.91 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น