กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6261
ชื่อเรื่อง: ดาวอังคารเมืองแห่งความรู้ทางอวกาศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: MARS KNOWLEDGE SPACE CITY
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นงนุช งามศิริชัยกุล
คำสำคัญ: ดาวอังคาร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: นงนุช งามศิริชัยกุล. 2561. "ดาวอังคารเมืองแห่งความรู้ทางอวกาศ." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: 57028305_นงนุช งามศิริชัยกุล_2561
บทคัดย่อ: มนุษย์เริ่มมีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นทุกวัน ทำให้มนุษย์สามารถเดินทางไปยังที่ต่างๆบนโลกได้อย่างไรขีดจำกัด ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งเราสามารถเดินทางออกนอกโลกไปศึกษาดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะได้ มนุษย์สามารถขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์ คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอวกาศจนสามารถตั้งสถานีอยู่บนอวกาศเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดวงดาวและโลกได้สำเร็จ การสำรวจเหล่านี้จะทำให้เราเห็นสภาพแวดล้อมนอกโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิดและความเชื่อ ทำให้มนุษย์ได้ตั้งความหวังว่าอนาคตจะเกิดโลกใบใหม่สำหรับพวกเขา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งอาณานิคมบนดวงดาวที่ชื่อว่า”ดาวอังคาร” แรงบัลดาลใจนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนมนุษย์มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอวกาศ และนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น ความสนใจของแต่ละชนชาติทำให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจและการแข่งขันเพื่อนำไปสู่ความเจริญของชาติ ซึ่งประเทศไทยก็มีผลกระทบจากการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์และอวกาศ ซึ่งประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีฝีมือ ความชำนาญด้านเทคโนโลยีอวกาศ การศึกษาและให้ความรู้เรื่องการตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคารนี้จะเป็นกรณีศึกษาให้กับบุคลากรภายในประเทศได้มีโอกาสสร้างความรู้ความสามารถ และเกิดแรงบัลดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศขึ้น การศึกษาข้อมูลความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อการสนับสนุนการให้ความรู้ทางด้านอวกาศ เช่น รายละเอียดที่ตั้งโครงการ องค์กรหรือภาครัฐที่ให้การสนับสนุนด้านอวกาศ เพื่อก่อให้เกิดโครงการ วิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆของอาคาร และศึกษารายเอียดพื้นที่ใช้สอย รูปแบบการใช้ประโยชน์ของพื้นที่เพื่อตอบสนองจุดประสงค์หลักของโครงการได้อย่างดีที่สุด การออกแบบโครงการโคยคำนึงถึงบริบทสภาพแวดล้อมของดาวอังคารมาเป็นตัวแปรในการออกแบบ และใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของดาวเพื่อการดำรงอยู่อาศัยของมนุษย์มาประกอบในการสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้มาใช้โครงการเพื่อรับรู้ได้ถึงสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ สถาปัตยกรรมดาวอังคารที่เกิดจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6261
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57028305_นงนุช งามศิริชัยกุล.pdf10.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น