กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6304
ชื่อเรื่อง: ภาพทีเผลอ สะท้อนวัฒนธรรมไทย (CANDID : THE REFLECTION OF THAI CULTURE)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุณยนุช สุขทาพจน์
คำสำคัญ: วัฒนธรรมไทย
ภาพทีเผลอ
สะท้อนสังคม
วันที่เผยแพร่: 17-พฤษภาคม-2562
แหล่งอ้างอิง: กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดําเนินชีวิตใน 
 สังคม.กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว, 2553. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. สังคมศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
 มหาวิทยาลัย, 2548. ณัฐกร สงคราม การถ่ายภาพ : เทคนิคและการนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
 แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557. สิทธิโชค วรานุสันติกูล จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์ กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2546. สุโขทัย ธรรมาธิราช , มหาวิทยาลัย. 2553. เอกสารการสอนชุดวิชา สังคมและวัฒนธรรมไทย. นนทบุรี: 
 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มงคล หวังสุขใจ และอาจารย์ ฐิติพันธ์ โกติรัมย์ สังคมวิทยาเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 6 
 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544. รศ.ดร.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข สังคมไทย : ลักษณะ การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 2 ขอนแก่น : 
 สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
บทคัดย่อ: การถ่ายภาพเปรียบได้ดังว่า ภาพหนึ่งภาพสามารถแทนคำพูดได้หลายร้อยคำ ซึ่งการถ่ายภาพนับเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์ของผู้ถ่ายภาพ โดยภาพถ่ายถือเป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ง่ายต่อการรับรู้ เข้าใจ และสามารถบอกเล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่ายได้ โดยมีอาศัยเทคนิคมากมายในการถ่ายภาพ แต่การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid) ถือได้ว่าเป็นการถ่ายทอดความหมายของภาพตามความจริงอย่างตรงไปตรงมา ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายภาพของช่างภาพจะต้องใช้องค์ประกอบต่างๆ ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ นำมาประกอบกันภายในช่วงเวลาอันสั้นภายใต้สถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้า เพื่อจะสามารถบันทึกภาพนั้นได้อย่างน่าสนใจ และใช้ความรวดเร็วที่บันทึกภาพไว้ได้ จึงเป็นที่มาของภาพสะท้อนสังคม การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid) เป็นการถ่ายภาพที่สะท้อนความจริงของสภาพสังคม วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนยุคปัจจุบันอย่างตรงไปตรงมาในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการถ่ายภาพทีเผลอในบริบทของสังคมไทยที่ต้องการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของช่างภาพไปสู่ผู้ชมภาพถ่ายทำให้เกิดอารมณ์ร่วมและคล้อยตาม โดยภาพจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นคนชาติใด หรือนับถือศาสนาใดก็ได้ มีความรักสงบ จิตใจให้เบิกบาน มีความอ่อนน้อมถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน และไม่มีการแบ่งฐานะคนรวยคนจน ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนาธรรมของไทย จึงนำเสนอออกมาผ่านภาพถ่ายโดยนำหลักการวิเคราะห์ภาษาภาพ (Image Analysis) โดยมีแนวคิดสะท้อนวัฒนธรรมไทย
รายละเอียด: วัฒนธรรม (culture) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อันได้แก่ ประเพณี ความคิดความเชื่อต่างๆ นั้นล้วนเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่าย และกระแสวัตถุนิยมเริ่มเข้าครอบงำในจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายที่ไม่ถูกต้องตามกาลเทศะ ความเหมาะสมต่างๆ เกิดความอยากได้อยากมีสิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และผู้คนเริ่มไกลห่างวัดมากขึ้น จึงอยากสะท้อนภาพให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย ที่หลากหลายอาชีพ ความคิด ศาสนา และความเชื่อ แต่ทุกคนสามารถที่จะทำความดีได้ด้วยการทำบุญใส่บาตร การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid) เป็นภาพถ่ายที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความจริงของสภาพสังคม วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนยุคปัจจุบันในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายภาพทีเผลอในบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน ที่มีสภาพแวดล้อมและสังคมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความจริงของสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6304
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CMU-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2_No.206_Letter of invitation.pdf212.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
Entry_Form_TH&Foreigner_07_Feb_2019.pdf40.68 kBAdobe PDFดู/เปิด
Lady goodness Light.jpg8.5 MBJPEGดู/เปิด
file IADCE2019.pdf360.17 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น