กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6392
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS RELATING TO SAFETY STANDARD OF COSMETIC GOODS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธิดามนู ใยบัวทอง
คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
บทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน
มาตรฐานการผลิต
เยียวยาค่าเสียหาย
เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ธิดามนู ใยบัวทอง. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอาง. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ธิดามนู ใยบัวทอง_T184553_2562
บทคัดย่อ: ในเรื่องความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอางพบว่ามาตรฐานเครื่องสำอางในประเทศไทยยังไม่ได้คุณภาพมาตรฐานเนื่องจากกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานเครื่องสำอางแห่งอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive) และเพื่อให้พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ครอบคลุมถึงเรื่อง GMP (good manufacturing practice) เพื่อป้องกันปัญหาการผลิตเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานมากขึ้น ผู้เขียนจึงมีความประสงค์จะวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอางโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอางในประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานเครื่องสำอางแห่งอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive) ต่อไป ในการทำสารนิพนธ์นี้ ผู้เขียนพบปัญหาและอุปสรรคสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอาง เช่น ปัญหาการควบคุมทางกฎหมาย การกำหนดกฎหมายเครื่องสำอางให้สอดคล้องกันกับคำสั่งเพื่อการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอางของอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive) และการรวบรวมกฎหมายเครื่องสำอางให้เป็นปัจจุบัน วิธีการควบคุมโดยอาศัยกฎหมายมาตรฐานเครื่องสำอาง การกำหนดกฎหมายขั้นตอนการผลิตเครื่องสำอางภายใต้มาตรฐานเดียวกัน การควบคุมการจำหน่ายและการนำเข้าเครื่องสำอางอย่างเคร่งครัด วิธีการควบคุมโดยอาศัยกฎหมายอื่นๆ การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอางการกำหนดกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค การบังคับใช้กฎหมาย การเยียวยาความเสียหาย บทลงโทษผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืน ในขณะที่ต่างประเทศมีกฎหมายและมาตรการในการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องสำอาง ที่ได้มาตรฐานกว่า เช่น กฎหมาย EU Cosmetics Regulations ซึ่งทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องปฏิบัติตามภายใต้มาตรฐานเดียวกันเกี่ยวกับการกำหนดการควบคุมสารจำเพาะ และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีบทบัญญัติเครื่องสำอางแห่งอาเซียน(ASEAN Cosmetic Directive) ที่ต้องปฏิบัติตามไว้ชัดเจนทั้งในเรื่องมาตรฐานการผลิตเครื่องสำอางการลงโทษและการเยียวยาความเสียหาย
รายละเอียด: ธิดามนู ใยบัวทอง. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเครื่องสำอาง. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6392
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความ.pdf399.43 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น