Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6395
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเอกภาวีณ์ เกษเพชรen_US
dc.date.accessioned2019-09-28T08:08:26Z-
dc.date.available2019-09-28T08:08:26Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationเอกภาวีณ์ เกษเพชร. 2562. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาลิสซิ่งในประเทศไทย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6395-
dc.descriptionเอกภาวีณ์ เกษเพชร. (2562). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาลิสซิ่งในประเทศไทย.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.en_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาลิสซิ่งในประเทศไทยซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายอยู่หลายด้าน เช่น ปัญหาและอุปสรรคจากการไม่มีกฎหมายลิสซิ่งใช้บังคับในประเทศไทย ปัญหาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่..) พ.ศ. .... ลักษณะลิสซิ่ง กับอุปสรรคในทางกฎหมายที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายลิสซิ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดปัญหาช่องว่างกฎหมายหลายประการ เช่น ปัญหาการตีความสัญญาลิสซิ่งว่าเป็นสัญญาเช่าหรือสัญญาเช่าซื้อและจะนำสัญญาเช่าหรือสัญญาเช่าซื้อมาใช้กับสัญญาลิสซิ่งได้หรือไม่ หากนำมาใช้ไม่ได้ทั้งหมดจะตีความอุดช่องว่างของกฎหมายโดยวิธีใด เพราะในทางปฏิบัติพบว่าการนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งในลักษณะดังกล่าวมาปรับใช้กับกรณีลิสซิ่งนี้ยังไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้อยู่ อีกทั้งปัญหาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... นี้มิได้กำหนดให้ผู้เช่าลิสซิ่งสามารถฟ้องร้องผู้ผลิตทรัพย์สินที่เช่าลิสซิ่งได้โดยตรง หากว่าทรัพย์สินที่เช่าลิสซิ่งมีความเสียหายขึ้น และความเสียหายนั้นอาจเกิดมาจากกระบวนการผลิต ผู้เช่าลิสซิ่งไม่สามารถที่จะฟ้องผู้ผลิตได้โดยตรง ซึ่งถือเป็นช่องว่างของกฎหมายที่อาจทำให้ผู้เช่าลิสซิ่งเสียเปรียบได้ ดังนั้น สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะว่า ควรมีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสัญญาลิสซิ่งขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยกฎหมายดังกล่าวควรที่จะกำหนดเกี่ยวกับนิยาม สิทธิหน้าที่ของคู่สัญญา ความรับผิด การเยียวยาความเสียหาย และการสิ้นสุดของสัญญาลิสซิ่งขึ้น เพื่อนำมาปรับใช้ในกรณีที่มีข้อพิพาททางสัญญาลิสซิ่งเกิดขึ้น เพื่อเป็นบทบัญญัติที่ใช้สำหรับข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาลิสซิ่งเป็นการเฉพาะ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่..) พ.ศ. .... ลักษณะลิสซิ่ง ที่อยู่ในขั้นตอนของการนำเสนอร่างฉบับนี้ ควรมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการที่ให้ผู้เช่าลิสซิ่งสามารถรับช่วงสิทธิของผู้ให้เช่าลิสซิ่งฟ้องร้องผู้ผลิตทรัพย์สินที่เช่าลิสซิ่งนั้นได้โดยตรง ในกรณีที่ปรากฏว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต อันมิใช่เกิดจากการกระทำของผู้เช่าลิสซิ่งเอง เพื่อให้ผู้เช่าลิสซิ่งได้รับการคุ้มครองด้วยความเป็นธรรม และสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยตรง อันจะทำให้ผู้เช่าลิสซิ่งได้รับชดใช้เยียวยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_เอกภาวีณ์ เกษเพชร_T184559_2562en_US
dc.subjectสัญญาลิสซิ่งen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาลิสซิ่งในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS CONCERNING LEASING CONTRACT IN THAILANDen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.