กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6505
ชื่อเรื่อง: การศึกษาค่ากระแสแครงกิ้งเย็นของแบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่ว-กรด
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทวัส ศรีสวัสดิ์กุล, อดุลย์ พัฒนภักดี, เผชิญ จันทร์สา
คำสำคัญ: แบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด
กระแสแครงกิ้ง เย็น
แอมป์-ชั่วโมง
วันที่เผยแพร่: 19-ธันวาคม-2019
บทคัดย่อ: แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรดเป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ แบตเตอรี่มีหน้าที่หลักที่สำคัญที่สุดเพื่อใช้สำหรับการสตาร์ทรถยนต์ โดยค่ากระแสแครงกิ้งเย็นคือคุณสมบัติที่จำเป็นที่สุดสำหรับการสตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้การสำรองไฟสำหรับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ หรือการสำรองไฟสำหรับใช้งานในขณะที่เครื่องยนต์หรือระบบประจุไฟไม่ทำงานก็เป็นอีกหน้าที่หนึ่งของแบตเตอรี่ที่ต้องคำนึงถึง การสำรองไฟของแบตเตอรี่จะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่ บทความนี้ทำการศึกษาและประมาณค่าความสัมพันธ์ของค่ากระแสแครงกิ้งเย็นกับค่าแอมป์-ชั่วโมง ของแบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรด จากการเก็บข้อมูลของแบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรดของศูนย์บริการยานยนต์แห่งหนึ่งในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2562 โดยทำการทดสอบเก็บข้อมูลรถยนต์ชนิดเดียวกัน และแบตเตอรี่รถยนต์แบรนด์เดียวกัน โดยแบ่งเป็นแบตเตอรี่ขนาด 50 แอมป์-ชั่วโมง จำนวน 8 ข้อมูล แบตเตอรี่ขนาด ความจุ 65 แอมป์-ชั่วโมงจำนวน 13 ข้อมูล และ แบตเตอรี่ขนาดความจุ 80 แอมป์-ชั่วโมง จำนวน 7 ข้อมูล จากผลการเก็บข้อมูล และการประมาณค่าแบบ least square regression เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่ากระแสแครงกิ้งเย็นหรือกระแสซีซีเอ (CCA)กับค่าแอมป์-ชั่วโมง (Ah) ของแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด จะได้สมการแสดงความสัมพันธ์เป็น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6505
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
621118_การศึกษาค่ากระแสแครงกิ้งเย็นของแบตเตอรีรถยนต์ชนิดตะกั่วกรด.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น