กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6673
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการตรวจสอบสารสนเทศทางบัญชี ธุรกรรมทางการเงิน สกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ส่งผลต่อการยอมรับของผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE DEVELOPMENT OF ACCOUNTING VERIFICATION PROCESS IN DIGITAL CURRENCY TRANSACTIONS WITH BLOCKCHAIN TECHNOLOGY AFFECTING TOWARDS THE ACCEPTANCE OF SMALL AND MEDIUM BUSINESS ENTERPRENUERS IN THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยสรรค์ รังคะภูติ
คำสำคัญ: บัญชี
เทคโนโลยีบล็อกเชน
เงินสกุลดิจิทัล
ธุรกรรมกำรเงิน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ชัยสรรค์ รังคะภูติ. 2558. "การพัฒนากระบวนการตรวจสอบสารสนเทศทางบัญชี ธุรกรรมทางการเงิน สกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ส่งผลต่อการยอมรับของผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย." ผลงานวิจัย คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ชัยสรรค์ รังคะภูติ_T185216
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตรวจสอบทางบัญชีที่มีผลต่อธุรกรรมเงินสกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอส เอ็ม อี) ในประเทศไทย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ (1) ตัวแบบกระบวนการตรวจสอบทางบัญชีธุรกรรมเงินสกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน (2) แบบสอบถามออนไลน์ และ (3) เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ประชากรได้จากกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย ในประเทศไทยจำนวน 140 บริษัท ประกอบด้วย (1) กลุ่มธุรกิจการเงิน, (2) กลุ่มเทคโนโลยี และ (3) กลุ่มบริการ โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยคำนวณจากสูตร ทาโร ยามาเน่ (Yamane, 2018) ที่ขนาดจำนวนประชากร 2,000 คน ที่ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 95% และค่าความคลาดเคลื่อนที่ ± 10% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 95 คน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการตรวจสอบทางบัญชีธุรกรรมทางการเงินสกุลเงินดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนมีประสิทธิผลต่อการยอมรับของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ผลการประเมินด้วยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยการเท่ากับ 4.42 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.206) ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเอส เอ็ม อี หน่วยงานกำกับดูแลระดับชาติควรจะต้องพัฒนาโครงสร้างกฏหมายและแนวทางการปฎิบัติด้านธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลดิจิทัลให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินและเศรษฐกิจในประเทศเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2560
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6673
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ACC-06. ผลงานวิจัย



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น