Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6771
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภานุวัฒน์ สิทธิโชคth_TH
dc.date.accessioned2020-07-24T06:38:28Z-
dc.date.available2020-07-24T06:38:28Z-
dc.date.issued2562-12-01-
dc.identifier.citationภานุวัฒน์ สิทธิโชค, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2562), 58-72.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6771-
dc.descriptionตามสภาวะธรรมชาติของจิตมนุษย์ผู้เดียว มีความเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ด้วยเสรีภาพปราศจาก ข้อผูกมัดทุกประการทั้งความคิดและการกระทำดำเนินตามความพึงพอใจของตนเอง แต่ในจิตใจของมนุษย์อีกด้านหนึ่ง ความอิสระนั้นไม่สามารถล่องลอยอยู่โดยอิสระได้ ต้องหาสิ่งยึดเหนี่ยว และสิ่งที่จิตมนุษย์ยึดเหนี่ยวนั้นก็คือ รูปลักษณะทางกายภาพ ความเป็นตัวตนมนุษย์นั่นเอง นอกจากนั้นมนุษย์ไม่สามารถอยู่ผู้เดียวได้จิตยังยึดผูกพันกับผู้อื่นด้วย มนุษย์เลยอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนจนกลายเป็นสังคม ดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมที่สร้างขึ้น เป็นแนวทางข้อควรปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกันเอง ดังนั้นความมีอิสระที่สมบูรณ์ในสภาวะจิตตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน จะหายไปเพื่อแลกกับสัญชาตญาณความเป็นตัวตนและสัตว์สังคม จนไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวและไม่สามารถหลุดพ้นค้นพบความมีอิสระที่แท้จริงในจิตใจตนเองได้th_TH
dc.description.abstract“พันธจองจำแห่งจิต” แสดงออกถึงโครงสร้างพันธะผูกพันระหว่าง “กาย” กับ “จิต” เป็นโครงสร้างภาวะของมนุษย์ ที่ตอบรับปฏิกิริยาลักษณะเหนี่ยวรั้ง สร้างพันธนาการจองจำ เสรีภาพจากภายในจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ ซึ่งแม้แต่ตนเองก็มิอาจหยุดยั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากความหิวที่ไม่รู้จบได้ จนเกิดความรู้สึกกดทับ แสดงออกด้วยการตอบโต้ที่รุนแรง หากมนุษย์ยอมรับว่าจิตตนเป็นอิสระและเป็นคนละส่วนกับร่างกายแล้ว มนุษย์ย่อมดำเนินชีวิตอยู่ในฐานะที่ใจเป็นอิสระโดยสมบูรณ์เหนือพันธนาการทางกายและอาจค้นพบตัวตนที่แท้จริงได้ นอกจากนั้นวัสดุในการสร้างสรรค์มีผลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ ถ่ายทอดสู่ผลงานทัศนศิลป์ 2 มิติ โดยข้าพเจ้าสนใจถึงคุณลักษณะของไม้ วัสดุที่มีชีวิต เกิดจากการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ผ่าน ดิน น้ำ อากาศ และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ลักษณะเนื้อไม้ ที่เป็นชั้นในแต่ละชั้นมีความอ่อนแข็งที่แตกต่างกัน ความรู้สึกถ่ายทอดแสดงผ่านพื้นผิวที่หลงเหลือบนแผ่นไม้ หลังการแกะ ขูด ขีด และกระบวนการอัดหมึกพิมพ์บนผิวไม้ สะท้อนร่องรอยการเซาะลอกชั้นผิวภายนอกออก หลงเหลือไว้เพียงความรู้สึก กดทับที่รุนแรง ของพันธนาการจองจำ ระหว่าง “กาย” กับ “จิต” ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 64 ปี พ.ศ. 2561 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ผลงาน “พันธจองจำแห่งจิต 6” นี้ ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะ รับรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง สาขาจิตรกรรมth_TH
dc.publisherวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม -ธันวาคม) 2562th_TH
dc.subjectพันธจองจำ กาย จิต มนุษย์th_TH
dc.title“พันธจองจำแห่งจิต”th_TH
Appears in Collections:DIG-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.