กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7044
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันความเสียหายจากการกระทำละเมิด กรณีศึกษา : คำขอคุ้มครองชั่วคราวให้หยุดกระทำละเมิดก่อนฟ้อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: MEASURES OF PREVENTION FROM WRONGFUL ACT : INJUNCTION RELIEF OF A WRONGFUL ACT PRIOR TO FILIG OF A CLAIM
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุจิรา มีชัย
คำสำคัญ: ป้องกันความเสียหาย
คำขอคุ้มครองชั่่วคราว
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: นุจิรา มีชัย. 2557. "ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันความเสียหายจากการกระทำละเมิด กรณีศึกษา : คำขอคุ้มครองชั่วคราวให้หยุดกระทำละเมิดก่อนฟ้อง." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: วิธีการชั้่วคราวก่อนพิพากษา ตามบทบัญญัติประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254 (2) ของประเทสไทย เป็นวิธีคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่ง ซึ่งศาลสามารถออกคำสั่งให้ความคุ้มครองชั่วคราวได้เร็วที่สุด คือ การคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉินตามมาตรา 254 (2) ประกอบมาตรา 266 ถึง 270 มีเงื่อนไขให้โจทย์ต้องยื่นคำร้องมาพร้อมกับคำฟ้อง โดยไม่ให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง กรณีที่มีการกระทำหรือกำลังจะกระทำการละเมิดก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งแตกต่างจากกฏหมายในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และราชอาณาจักรสวีเดน มีการให้ความคุ้มครองประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หรือคาดว่าจะได้รับความเสียหาย หรือคู่กรณีมีการกระทำหรือกำลังจะกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายก่อนยื่นฟ้องคดี อันเป็นการคุ้มครองบรรเทา หรือเยียวยาความเสียหายในรูปแบบ Interim Injunction ตามเจตนารมณ์สำคัญของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง เพื่อเป็นการเยียวยาแก่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายและป้องกันมิให้เกิดความเสียหายจากการกระทำละเมิดเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ได้รับบทบัญญัติที่กฏหมายให้อำนาจมีคำสั่งห้ามชั่วคราวก่อนฟ้องได้ทันทีเพื่อระงับหรือละเว้นการกำลังกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งจากการกรำทำละเมิด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7044
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น