กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7126
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในระบบกฏหมายไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS CONCERNING THE RELLABILITY OF ELECTRONIC EVIDENCE IN THE LAW OF THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจนจิรา ชูสุวรรณ
คำสำคัญ: ระบบกฏหมายไทย
กฏหมายเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ
พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: เจนจิรา ชูสุวรรณ. 2557. "ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในระบบกฏหมายไทย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเข้าสู่ยุคสารสนทศ จากเดิมที่เราสื่อสารโดยการพึ่งพาภาษาและตัวหนังสือเป็นหลัก มาเป็นการสื่อสารด้วยภาษาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผล ปัจจุบันจึงมีการกำหนดให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ในการพิจารณาคดี นอกจากพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างป็นพยานหลักฐานได้แล้วในส่วนการจัดประเภทพยานหลักฐานนั้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แม้จะมีลักษณะเป็นพยานเอกสารและพยานวัตถุ แต่ก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพยานเอกสารและพยานวัตถุทั่วไปในการนำสืบจึงต้องมีวิธีการพิเศษโดยเฉพาะการยอมรับให้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่าเมื่อจัดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานอีกประเภทหนึ่งแล้ว ข้อที่ต้องพิจารณาต่อมาก็คือ จะต้องมีวิธีนำสืบและหลักในการรับฟังอย่างไรและจะนำบทตัดพยาน ได้แก่ หลักการรับฟังพยานหลักฐานที่ดีที่สุด และหลักการรับฟังพยานบอกเล่ามาใช้ด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7126
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น