กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7263
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้า: ศึกษาเฉพาะกรณี เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมชัย ศิริสมบัติ
คำสำคัญ: ปัญหาการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้า
เครื่องหมายการค้า
วันที่เผยแพร่: 2549
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ในปัญหาการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้าโดยนำหลักกฎหมายและแนวคิดของต่างประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ และคอมมอนลอว์ แนวคิดของกฎหมายระหว่างประเทศมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายเครื่องหมายการค้า และกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย ว่ามีแนวทางการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน และส่งเสริมให้มีการแข่งขันอันเป็นธรรมทางการค้าได้อย่างไร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป ผลการวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 63 มีปัญหาเรื่องการไม่ใช้เครื่องหมายการค้าโดยสุจริตเป็นเหตุแห่งการเข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแทน โดยมีค่าตอบแทนแก่การนอกการควบคุมกำกับดูแลของทางราชการ ผู้วิจัยเรียกการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้าในลักษณะ "การค้าเครื่องหมายการค้า" ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มาตรา 29 และกำหนดระยะเวลาแห่งการเพิกถอนสิทธิเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนที่ไม่ได้ใช้ที่กำหนดไว้ 3 ปี นับแต่วันจดทะเบียนก็เป็นระยะเวลาที่ไม่สอดคล้องกับหลักสากลอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายในระบบเศรษฐกิจและสังคม ผู้วิจัยจึงเสนอแนะแก้ไขกฎหมายให้มีความครอบคลุม ชัดเจน ในเรื่องการใช้เครื่องหมายการค้าที่จะถือว่ามีการใช้อย่างเป็นธรรม ทั้งกำหนดระยะเวลาการเพิกถอนสิทธิเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนที่ไม่ได้ใช้เป็น 5 ปี ให้สอดคล้องกับหลักสากล แก้ไขข้อความในบทกำหนดโทษให้มีความครอบคลุมชัดเจน ถึงการกระทำที่ไม่สุจริต และเพิ่มอัตราโทษ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ ทั้งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจส่งเสริมวิธีการใช้มาตรการบังคับทางกฎหมาย ของกฎหมายการแข่งขันทางการค้า โดยใช้องค์กรที่เรียกว่า "คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า" เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในการบริหารและบังคับใช้กฎหมายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอำนาจเรื่องการผ่อนปรนการใช้กฎหมายและอำนาจกึ่งตุลาการ ทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม และเป็นไปด้วยความรวดเร็วประหยัดค่าใช้จ่าย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7263
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทคัดย่อ.pdf105.57 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น