กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7298
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงกลั่นน้ำมันในเขตภาคตะวันออก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิรุณ วิเชียรศิริกุล
คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงกลั่นน้ำมัน
วันที่เผยแพร่: 2542
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การกับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3. เพื่อแสวงหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานฝ่ายผลิตของโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 4 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 338 คน ได้มาโดยวิธีการ การสุ่มแบบแบ่งพวก เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างจากแต่ละโรงกลั่นในสัดส่วนใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกระบวนการสร้าง และพัฒนาเครื่องมือที่ดี โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .8860 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านองค์การได้แก่ ความก้าวหน้า ความมั่นคงในงาน การยอมรับนับถือ บรรยากาศการทำงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และรองลงมา ได้แก่ บรรยากาศการทำงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ การยอมรับนับถือ ความมั่นคงในงาน อันดับสุดท้าย คือ ความก้าวหน้า 2. พนักงานฝ่ายผลิตที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 3. พนักงานฝ่ายผลิตที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 4. ปัญหาสำคัญในการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานฝ่ายผลิตมากที่สุด คือ การติดต่อสื่อสาร การประสานงานระหว่างแผนก และรองลงมา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับพนักงาน สำหรับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานฝ่ายผลิต คือ ควรจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ควรมีการปรับปรุงระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และควรจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติโดยตรง และงานที่เกี่ยวข้องกับพนักงานให้มากยิ่งขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7298
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทคัดย่อ.pdf286.89 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น