Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7348
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างรูปแบบการพัฒนาหัวหน้างานรุ่นใหม่ ในกรณีศึกษากลุ่มโรงงานผู้ผลิตกระจกชั้นนำของประเทศไทย
Authors: สุวัจน์ ไทยพงษ์ธนาพร
Keywords: ปัจจัยขับเคลื่อนการพัฒนาตนเอง
การฝึกอบรม
รูปแบบการพัฒนาหัวหน้างาน
Issue Date: 2563
Abstract: บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)ศึกษาระดับการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆของพนักงาน 2)เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับการพัฒนาตนเอง 3)เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยขับเคลื่อนที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานกับระดับการพัฒนาตนเอง 4)เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาหัวหน้างานรุ่นใหม่ในกรณีศึกษากลุ่มโรงงานผู้ผลิตกระจกชั้นนำของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยคือพนักงานในกลุ่มโรงงานผู้ผลิตกระจกชั้นนำจำนวน 153 คน ใช้การวิจัยแบบผสมการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ และสมการถดถอยพหุคุณ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 9 ท่าน นำผลการสัมภาษณ์มาสรุปเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาพนักงานรุ่นใหม่ ผลการวิจัย 1) ระดับการพัฒนาตนเองของพนักงานอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการพัฒนาตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ปัจจัยด้านอายุมีผลกับการพัฒนาตนเองด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3) ปัจจัยขับเคลื่อนที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองได้แก่ ความสำเร็จในงาน นโยบายบริหาร การฝึกอบรม และผลวิจัยเชิงคุณภาพพบปัจจัยขับเคลื่อนที่มีผลต่อการพัฒนาพนักงานเพิ่มเติม 1.วัฒนธรรมองค์กรและระเบียบวินัย 2.การช่วยเหลือกันและกันระหว่างทีมงาน 3.ความเป็นเจ้าของ 4.การเปลี่ยนรุ่น 5.การมีส่วนร่วมในการพัฒนางานแบบไคเซ็น 6.การเรียนรู้จากเทคโนโลยีภายนอก ผลงานวิจัยถูกนำมาสร้างสร้างรูปแบบการพัฒนาพนักงานได้ 3 รูปแบบคือ รูปแบบการพัฒนาพนักงานใหม่ รูปแบบการพัฒนาพนักงานปัจจุบัน และรูปแบบการพัฒนาพนักงานขึ้นเป็นหัวหน้างานรุ่นใหม่
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7348
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstarct.pdf92.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.