Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7585
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่
Authors: คอลิด ปาทาน
Keywords: การประกอบธุรกิจ
โทรศัพท์เคลื่อนที่
Issue Date: 2556
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการเปิดเสรีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ การประมูลคลื่นความถี่มีการผูกขาดให้แก่เอกชนรายหนึ่งรายใดเนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีผู้ดำเนินการน้อยรายและใช้เงินทุนจำนวนมาก ขาดการแข่งขันกันอย่างเสรี และใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิทธิเฉพาะตัว หากผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์ประกอบกิจการต่อไปและต้องการโอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบกิจการรายอื่นจะต้องมีการดำเนินการประมูลใหม่ และผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ได้ไปเฉพาะในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ของระยะเวลาตามสัญญารายเดิม และถ้าเป็นกรณีการประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มิได้มีการกำหนดกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นกิจการที่อยู่ในบัญชีท้ายของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 นิติบุคคลต่างด้าวก็สามารถที่จะประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยได้ แต่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของคนต่างด้าว และการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะแฝงร่วมกับการให้บริการคลื่นความถี่หลักโดยเฉพาะผู้รับบริการที่เป็นเด็กและเยาวชน และมีการคิดค่าบริการเพิ่มขึ้นจากการให้บริการหลัก และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ไม่มีมาตรการบรรเทาและเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการประกอบธุรกิจแฝง แต่มุ่งควบคุมเฉพาะก่อนการให้ใบอนุญาตแก่ผู้รับใบอนุญาตเท่านั้น นอกจากนั้นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ให้อยู่ในการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี มิได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลไว้ มีเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดประเภทของการประกอบกิจการโทรคมนาคม เงื่อนไขในการประกอบกิจการและการควบคุมให้เป็นไปตามใบอนุญาต และกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานของการประกอบกิจการทางด้านเทคนิคเท่านั้น จากการศึกษาผู้ศึกษาเสนอแนะว่า ในการเปิดเสรีการประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ควรแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ให้มีการขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนการประมูลคลื่นความถี่ และใช้ระบบจัดสรรคลื่นความถี่ให้เพียงพอต่อความต้องการในการประกอบธุรกิจ หากผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถขอรับใบอนุญาตได้ แต่ต้องมีลักษณะและคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายหรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนด และโอนสิทธิในการใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่กันได้ แต่ผู้รับโอนหรือรับมอบอำนาจต้องมีลักษณะและคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายหรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนด และควรปรับปรุง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนของนิติบุคคลต่างประเทศ และควบคุมธุรกิจแฝงของการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย โดยกำหนดมาตรการสำหรับการบรรเทาและเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการประกอบธุรกิจแฝงที่สร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้บริการ โดยนำหลักความรับผิดเด็ดขาดมาบังคับใช้กับผู้ประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และประกอบธุรกิจแฝงให้ต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหายโดยตรง และให้สิทธิผู้เสียหายที่ใช้สิทธิทางศาลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพิ่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และควรบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการในการเตือนหรือสั่งให้แก้ไขหรือสามารถดำเนินคดีกับผู้รับใบอนุญาตและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7585
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
คอลิด ปาทาน.pdf311.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.