Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7596
Title: ปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
Authors: ประสิทธิ์ ประวรรณะ
Keywords: การส่งเสริมการลงทุน
Issue Date: 2553
Abstract: ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการโน้มน้าว ดึงดูดให้นักลงทุนที่เป็นชาวต่างชาติหรือนักลงทุนชาวไทยเข้ามาทำการลงทุนโดยตรงในภาคอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับการเข้ามาลงทุนจึงต้องมีการทบทวนพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เพื่อให้มีความสอดคล้อง ทันสมัย และเอื้อประโยชน์ โน้มน้าว ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาทำการลงทุน เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับดังกล่าวมีการประกาศใช้เป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งข้อความบางประการ ตลอดจนบทบาทหน้าที่การพิจารณาของเจ้าหน้าที่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายไม่มีความคล่องตัว และอาจจะยังไม่มีความทันสมัย ทันต่อสภาพการตลาดของโลกที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันนั้นมีจุดอ่อน-จุดด้อยอยู่หลายประการ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถดึงดูด โน้มน้าวให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาทำการลงทุนเท่าที่ควร หรือแม้กระทั่งนักลงทุนที่เป็นคนไทยเองก็ตาม เพราะปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามสิทธิและประโยชน์ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับดังกล่าวยังไม่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุนเท่าใดนัก การพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนนั้น ยังยึดติดกับระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่กำหนดเวลาในการปฏิบัติงานส่งเสริมการลงทุน ตลอดจนเป็นการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติในแต่ละเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการพิจารณาคำขอรับการส่งเสริม การนำเข้าเครื่องจักรที่จะนำมาทำการผลิตตามกระบวนการผลิตที่ระบุไว้ในคำขอรับการส่งเสริม การขออนุมัตินำเข้าวัตถุดิบที่จะนำมาทำการผลิต การขออนุมัตินำเข้าช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการเข้ามาปฏิบัติงานเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย ตลอดจนกรณีที่ผู้รับการส่งเสริมการลงทุนขอใช้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเองก็ตาม ตามที่ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานส่งเสริมการลงทุนนั้น ควรที่จะปรับเปลี่ยน แก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งการนำส่งข้อมูลหรือนำส่งเอกสารการขอพิจารณาอนุมัติในด้านต่าง ๆ นั้นได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถนำส่งคำขอต่าง ๆ ได้ผ่านระบบออนไลน์ จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศไว้ ตลอดจนอำนาจในการพิจารณาคำขอต่าง ๆ นั้น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สามารถพิจารณาอนุมัติได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาแต่อย่างใด สำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และการขอใช้สิทธิและประโยชน์ด้านต่าง ๆ โดยศึกษาประเด็นที่มีผลกระทบต่อนักลงทุนโดยตรง และยังได้ศึกษากฎหมายและนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อศึกษาแนวทางการลงทุนต่างประเทศ ตลอดจนสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ที่ประเทศดังกล่าวกำหนดไว้เป็นนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เอื้อประโยชน์ โน้มน้าวนักลงทุน เพื่อประโยชน์ต่อนักลงทุนที่สนใจที่จะลงทุนในประเทศดังกล่าวต่อไป ผู้ศึกษาได้สรุปปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน และแนวทางแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนต่างชาติหรือนักลงทุนชาวไทย ที่จะขอใช้สิทธิและประโยชน์ด้านการลงทุนโดยตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7596
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ประสิทธิ์ ประวรรณะ.pdf244.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.