Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7603
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
Authors: สัญญา บัณฑิตลักษณะ
Keywords: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมาย
การคุ้มครองผู้บริโภค
Issue Date: 2554
Abstract: การศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย และความเป็นมา หลักการ แนวคิด ในประเด้นและแง่มุมต่าง ๆ เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 นั้นเพิ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้ถูกตราขึ้นภายใต้นิติวิธีคิดที่ต้องการจะคุ้มครองผู้บริโภคในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจ อันสืบเนื่องมาจากการตื่นตัวในการเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภคที่ควรจะได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ จากรัฐโดยอาศัยตัวบทกฎหมาย เพราะการดำเนินการของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 นั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเอาผิดกับผู้ประกอบธุรกิจ และไม่สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ ยิ่งในปัจจุบันการอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด อันสืบเนื่องมาจากการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น และนับวันจะยิ่งพัฒนาต่อไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งลำพังเพียงการดำเนินงานในระบบราชการที่ล่าช้าของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และกระบวนพิจารณาที่เต็มไปด้วยเทคนิคในทางกฎหมายของวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจที่จะตอบสนองการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทันท่วงที จนเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็ธเป็นธรรมเป็นจำนวนมาก และบางกรณียังนำไปสู่ความรุนแรงและการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคด้วย จึงได้เกิดพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยให้มีวิธีพิจารณาคดีเป็นพิเศษแตกต่างจากการพิจารณาคดีแพ่งธรรมดา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค ลดภาระค่าใช้จ่าย ทำให้การเยียวยาแก้ไขให้แก่ผู้บริโภคเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการเป็นเครื่องมือให้เกิดการพัฒนาของผู้ประกอบธุรกิจให้ผลิตสินค้าและให้บริการอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานสากล สามารถทำการค้าขายกับประชาคมโลกได้อย่างดี ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายข้างต้นเป็นเช่นนั้น แต่จากการศึกษาวิจัยถึงวิวัฒนาการ แนวคิด และหลักการทางกฎหมาย โดยเปรียบเทียบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคของไทยกับวิธีพิจารณาคดีของต่างประเทศ จึงพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 นั้นเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เกี่ยวกับปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล ซึ่งควรห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภค ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องผู้สืบสิทธิในคดีผู้บริโภค การดำเนินกระบวนพิจารณาปัญหาการพิจารณาคดีโดยขาดนัด การนำสืบพยานหลักฐาน ปัญหาคำพิพากษา ปัญหาในชั้นบังคับคดีและปัญหาเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย แต่กฎหมายดังกล่าวเป็นแนวคิดใหม่แต่กลับให้นำบทบัญญัติในการพิจารณาคดีแพ่งมาใช้บังคับ กลายเป็นการดำเนินคดีที่ล่าช้า ไม่เป้นไปตามหลักทฤษฎีของการดำเนินคดีผู้บริโภค ก็เท่ากับยังคงอยู่บนหลักการพื้นฐานเดิมที่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่นั่นเอง จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาคดีที่เป็นกฎหมายของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นการเฉพาะที่ไม่ต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม เพื่อให้บทบัญญัติกฎหมายมีประสิทธิภาพสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7603
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สัญญา บัณฑิตลักษณะ.pdf477.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.