Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7605
Title: ปัญหาทางกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง : ศึกษาเฉพาะกรณีการบังคับคดีเกี่ยวกับคำสั่งศาลและคำพิพากษาซ้ำ
Authors: เสมา จงไชโย
Keywords: คำพิพากษาซ้ำ
การบังคับคดี
Issue Date: 2554
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาของศาลอันเกิดจากการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาพิพากษาในเรื่องการฟ้องซ้ำ ปัญหาการบังคับคดีสองคำพิพากษาในเรื่องการเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้และสภาพบังคับของคำพิพากษาในศาลต่างประเทศที่มีผลและสภาพบังคับต่อคำพิพากษาของศาลไทย จากการศึกษาพบว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาทางกฎหมายที่มีลักษณะการที่ศาลใช้ดุลยพินิจในการตีความกฎหมายวิธีสบัญญัติที่เคร่งครัดจนเกินไป จนทำให้ลูกหนี้ต้องถูกบังคับคดีซ้ำอีกไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากนั้นการตีความในกฎหมายวิธีสบัญญัติจะตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัดไม่ได้ เพราะผิดหลักการตีความกฎหมายซึ่งจะต้องตีความตามเจตนารมณ์และตีความไปในทางที่ให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่เป็นภาระแก่คู่ความมากจนเกินไป นอกจากนั้นปัญหาการบังคับคดีสองคำพิพากษาของศาลต่างประเทศนั้นยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติบังคับไว้เป็นการเฉพาะ ขึ้นอยู่กับการร้องขอของประเทศผู้มีคำพากษาที่จะบังคับเอากับลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่อยู่ประเทศอื่น การยอมรับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศหรือสภาพบังคับของคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ซึ่งถ้าคำพิพากษานั้นได้รับการยอมรับแล้วก็ย่อมมีผลในประเทศที่ทำการยอมรับ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นที่คำพิพากษาของศาลต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับแล้วจะได้รับการบังคับด้วย กรณีดังกล่าวจึงเป็นปัญหาการบังคับคดีอยู่นั่นเอง ดังนั้นจึงขอเสนอแนะว่าปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการฟ้องซ้ำในกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยการตีความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ที่ว่า “คำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว” แม้จะตีความว่าหมายถึงคำพิพากษาของศาลขั้นต้นก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาว่าคำพิพากษาเช่นว่านี้เป็นคำพิพากษาที่ออกมาในรูปแบบใด เช่น คำพิพากษาของศาลในชั้นตรวจฟ้องหรือชั้นพิจารณา ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปัญหาการบังคับคดีสองคำพิพากษาเกี่ยวกับการเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ รวมทั้งคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ผู้ศึกษาเสนอแนะว่าต้องมีการแก้ไขในเรื่องการฟ้องซ้ำของศาลให้ได้เสียก่อน เช่น อาจมีมาตรการที่เป็นกฎหมายในลำดับเดียวกันมาควบคุมการดำเนินตามมาตรการดังกล่าว และมาตรการในการรับคดีของศาลที่จะต้องหามาตรการในการบริหารจัดการคดีให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะรับคดีเพียงใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันถือหลักกการโต้แย้งสิทธิและการถูกกระทบสิทธิเป็นหลัก เนื่องจากหลักการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ทุกบทบัญญัติแห่งกฎหมายนำไปใช้บังคับโดยอนุโลมแทบทั้งสิ้น เช่น บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เป็นต้น นอกจากนั้นควรมีระบบการกำหนดประเด็นของการฟ้องไว้ในกฎหมาย โดยเมื่อศาลพิจารณาคดีหรือทำคำพิพากษาต้องเขียนประเด็นและแยกประเด็นอย่างชัดเจนไว้ในคำพากษาด้วย เพราะการทำคำพิพากษาหรือการพิจารณาคดีของศาลต้องกำหนดประเด็นและหน้าที่นำสืบอยู่แล้ว จึงควรให้ศาลกำหนดประเด็นออกมาอย่างชัดเจนแล้วกำหนดลงไว้ในฐานข้อมูลคดี เพื่อให้การค้นประเด็นแห่งคดีทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่วนปัญหาการบังคับของคำพิพากษาของศาลต่างประเทศก็ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน และในขณะเดียวกันก็ทำให้ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย ซึ่งพิจารณาแล้วพบว่าเป็นเพียงข้อเท็จจริงของการดำเนินคดีเท่านั้น คู่ความมีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่ามีคำพิพากษาอย่างนั้นอยู่จริง แต่ก็เป็นเพียงประเด็นหนึ่งแห่งการดำเนินคดีเท่านั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องดำเนินการได้เลย ในปัญหานี้ผู้ศึกษาเสนอว่า ควรมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายขัดกันให้เพิ่มเติมในส่วนของการมีคำพิพากษาของศาลต่างประเทศที่ซ้ำซ้อนกับคำพิพากษาของศาลไทยว่าจะมีมาตรการอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้น เช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติ มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7605
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
เสมา จงไชโย.pdf313.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.