Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7628
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากร กรณีองค์การมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Authors: นรีกานต์ อรรคอุดม
Keywords: การบริหารจัดการองค์การ
ความผูกพันต่อองค์การ
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ
Issue Date: 2553
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การกับความผูกพันต่อองค์การ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกับความผูกพันต่อองค์การ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 175 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด (Close ended-questions) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่มีข้อมูลด้านประชากรศาสตร์แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การโดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่มีข้อมูลด้านประชากรศาสตร์แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ ตำแหน่ง โดยพบว่าบุคลากรที่มีอายุ 25-30 ปี มีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าบุคลากรที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี และบุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่งพนักงานมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ 4. บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่มีข้อมูลด้านประชากรศาสตร์แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง โดยบุคลากรที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมากกว่าบุคลากรที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และบุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่งอาจารย์มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมากกว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ 5. การบริหารจัดการองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. การบริหารจัดการองค์การมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. ความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7628
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
นรีกานต์ อรรคอุดม.pdf803.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.