Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7914
Title: การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ
Other Titles: LEGAL DEVELOPMENT ON PROMOTING ELDERLY CITIZEN EMPLOYMENT
Authors: ณัฐพร เทียนบุญ
Keywords: ส่งเสริมการจ้างงาน
ผู้สูงอายุ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ณัฐพร เทียนบุญ. 2564. "การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ." บทความ สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์จึงก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่มีศักยภาพและมีความต้องการในการทำงาน ซึ่งในประเด็นนี้ทำให้ภาครัฐได้ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยออกนโยบายเพื่อรองรับการจ้างงานผู้สูงอายุ แต่การจ้างงานผู้สูงอายุยังขาดประสิทธิภาพและขาดกลไกทางกฎหมายที่เป็นรูปธรรม ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามการจ้างงานผู้สูงอายุ พบว่าไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดนิยามการจ้างงานผู้สูงอายุไว้เป็นการเฉพาะ มีแต่เพียงกำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม ส่งผลให้บริษัทหรือผู้ประกอบการไม่เล็งเห็นความสำคัญของแรงงานผู้สูงอายุ อีกทั้งยังมองว่าเป็นแรงงานที่ไม่มีศักยภาพในการทำงานเท่าที่ควร (2) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิที่ผู้สูงอายุควรได้รับเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน พบว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ไม่ได้มีกำหนดลักษณะ ประเภท หรืออาชีพที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจ้างงานผู้สูงอายุทำให้การดำเนินงาน ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานหรือการประกอบอาชีพและฝึกอาชีพของผู้สูงอายุ ขาดความชัดเจนและไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ ส่งผลให้การจ้างงานผู้สูงอายุยังไม่เป็นที่ยอมรับจากบริษัทหรือผู้ประกอบการ (3) ปัญหาเกี่ยวกับการดูแลและการตรวจสอบ การจ้างงานผู้สูงอายุ พบว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ไม่ได้กำหนดให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมีอำนาจทำหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับดูแลและตรวจสอบการจ้างงานผู้สูงอายุแต่อย่างใด แต่เป็นการทำหน้าที่ในภาพรวมของการบริหารจัดการผู้สูงอายุในภาพรวม ย่อมส่งผลให้เกิดการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม และอาจทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้สูงอายุ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับสหราชอาณาจักรและประเทศญี่ปุ่นแล้ว ทั้งสองประเทศต่างให้ความสำคัญกับการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยมีการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้การจ้างงานผู้สูงอายุมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม เช่น สหราชอาณาจักรมีกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติ เพราะอายุ ยกเลิกเกณฑ์การเกษียณอายุ รวมถึงมีการจัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายกำหนดคำนิยามของแรงงานผู้สูงอายุ และกำหนดให้มีการตั้งศูนย์พัฒนามนุษย์ผู้สูงวัย (SHRC) หรือศูนย์ทรัพยากรผู้สูงอายุ เพื่อให้ความช่วยเหลือในการทำงานของผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาทางกฎหมาย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ดังนี้ (1) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติคำนิยามศัพท์ของการจ้างงานผู้สูงอายุให้ชัดเจน (2) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิที่ผู้สูงอายุควรได้รับเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่ชัดเจนประกอบด้วย การได้รับบริการข้อมูลทางอาชีพ ได้รับความช่วยเหลือในการจัดหางาน การรับสมัครงาน การมีสิทธิได้รับความยืดหยุ่นในการทำงาน (3) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการดูแลและตรวจสอบการจ้างงานผู้สูงอายุของคณะกรรมการผู้สูงอายุ โดยกำหนดให้มีหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลแรงงานผู้สูงอายุ กำหนดกฎระเบียบในการจ้างงานผู้สูงอายุ พร้อมทั้งกำกับดูแล ติดตามตรวจสอบ การจ้างงานของผู้สูงอายุ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7914
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความส่งหลักสูตร(ณัฐพร).pdf279.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.