กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8503
ชื่อเรื่อง: ความรับผิดทางอาญาของการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: CRIMINAL LIABILITY OF CYBERBULLYING
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนกร สุกหอม
คำสำคัญ: การกลั่นแกล้งรังแก
ความรับผิดทางอาญา
สื่อออนไลน์
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ธนกร สุกหอม. 2565. “ความรับผิดทางอาญาของการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ศึกษาในปัญหาการกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ปัญหาข้อจำกัดตามกฎหมายไทยในการลงโทษการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ และปัญหามาตรการทางกฎหมายที่ใช้ต่อการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ โดยเริ่มจากศึกษาตั้งแต่แนวคิดเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแก ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและการลงโทษอาญา ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล การคุ้มครองสิทธิในชีวิตร่างกาย และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์กำหนดความรับผิดทางอาญาของการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ รวมถึงบทบัญญัติที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นของการกระทำดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยให้มีความเหมาะสม ชัดเจน และเป็นธรรม จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีการกำหนดคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ไว้อย่างชัดเจน ประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งการส่งข้อความพิมพ์ข้อความในสื่อออนไลน์ล้วนเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นหรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม รัฐจึงต้องเข้ามาออกบทบัญญัติวางกรอบเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในสื่อออนไลน์เพื่อให้ได้ทราบว่าการกระทำใดเป็นการกระทำนอกเหนือกรอบสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และยังเป็น การคุ้มครองสิทธิผู้ที่จะถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ให้ได้ทราบว่าการกระทำใดเป็นการละเมิดสิทธิของตนอันเป็นการคุ้มครองหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและหลักสิทธิในสุขภาพอนามัยชีวิตร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่การกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ไว้อย่างชัดเจน ทั้งกรณีทั่วไปและกรณีที่ทำให้เกิดผลเป็นอันตรายต่อกายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส พยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตาย หรือเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นทั้งสิทธิในสุขภาพอนามัย ร่างกาย ชีวิต ทำให้ปัจจุบันการลงโทษบุคคลที่กระทำในลักษณะดังกล่าวต้องพยายามปรับใช้กับบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาที่มีองค์ประกอบความผิดไม่ครอบคลุมกับการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เหมาะสมในการปรับข้อเท็จจริงกับบทบัญญัติ และส่งผลต่อไปทำให้ไม่มีมาตรการลงโทษอาญาต่อการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอให้มีการบัญญัติกำหนดคำนิยามในประมวลกฎหมายอาญา โดยบัญญัติคำนิยามคำว่า “กลั่นแกล้งรังแก” ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (19) และคำว่า “สื่อออนไลน์” ไว้ในมาตรา 1 (20) และบัญญัติความรับผิดทางอาญาฐานกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์เป็นฐานความผิดใหม่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด ลักษณะ 10 ความผิดต่อชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295/1 โดยมีการกำหนดโทษหนักขึ้นเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส พยายามฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตาย หรือเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพื่อให้บุคคลสามารถทราบได้ว่าการกระทำใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8503
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความ.pdf306.28 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น