ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการที่พักรายวันแก่นักท่องเที่ยว

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ธุรกิจให้บริการที่พักรายวันแก่นักท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับหลากหลายธุรกิจ และรองรับแนวโน้มของรูปแบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เรียกว่า “สังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน” (Sharing Economy) แต่การดำเนินธุรกิจในลักษณะดังกล่าวบางประเภทเป็นสถานที่พักซึ่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 มาตรา 4 (3) ได้กำหนดให้เป็นสถานที่พักอื่นๆที่ไม่เป็นการประกอบธุรกิจโรงแรม และได้กำหนดองค์ประกอบของสถานที่พักที่ไม่เข้าลักษณะโรงแรมไว้ในกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ในหมวด 1 ข้อ 1 โดยสถานที่พักที่ไม่เข้าลัษณะเป็นโรงแรมเป็นการประกอบธุรกิจที่พักแรมที่มีห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้อง และมีจำนวนผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน ซึ่งจัดตั้งเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด ปัจจุบันประเทศได้มีผู้นำเอาบ้านพัก คอนโดมิเนียม ตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ต่างๆมาทำธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักรายวัน ซึ่งเมื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวไม่จัดว่าเป็นโรงแรม จึงทำให้ไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการกำกับ และส่งเสริมดังเช่นธุรกิจโรงแรม อาทิเช่น มาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยของที่พักรายวัน มาตรการด้านสาธารณสุข รวมถึงปัญหาที่ไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริมและกำกับการประกอบธุรกิจสถานที่พักรายวันที่ไม่เป็นโรงแรม

คำอธิบาย

คำหลัก

การควบคุม, กำกับดูแล, การให้บริการที่พักรายวัน

การอ้างอิง

รังสิมันตุ์ พิมลวงศ์. 2561. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการที่พักรายวันแก่นักท่องเที่ยว.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.