กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8685
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดศึกษาระบบคัดแยกสีของวัตถุบนสายพานลำเลียงด้วยแขนกลหุ่นยนต์สการ่า
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วนายุทธ์ แสนเงิน, ณรงค์พล นัยสงวนศรี, กริชธนา บุญนาค และ นัฐพร แซ่พู
คำสำคัญ: ตรวจวัดค่าสีวัตถุ
แขนกลหุ่นยนต์สการ่า
สายพานลำเลียง
วันที่เผยแพร่: 17-พฤศจิกายน-2565
แหล่งอ้างอิง: วนายุทธ์ แสนเงิน, ณรงค์พล นัยสงวนศรี, กริชธนา บุญนาค และ นัฐพร แซ่พู, "การพัฒนาชุดศึกษาระบบคัดแยกสีของวัตถุบนสายพานลำเลียงด้วยแขนกลหุ่นยนต์สการ่า", The 45th Electrical Engineering Conference (EECON45), 16-18 พฤษจิกายน 2565, ณ ภูสักธาร รีสอร์ท นครนายก
บทคัดย่อ: การพัฒนาชุดเรียนรู้ระบบอัตโนมัติเพื่อจำลองการคัดแยกสีวัตถุและจัดเก็บวัตถุ ด้วยแขนกลหุ่นยนต์แบบสการ่า (SCARA) โดยประกอบด้วยส่วนของ ระบบควบคุมสายพานลำเลียงพร้อมชุดจ่ายวัตถุ ขนาด 3x3x3 เซนติเมตร ระบบควบคุมแขนกลหุ่นยนต์ด้วยพีแอลซี (PLC) แสดงผลผ่านหน้าจอแบบสัมผัส (HMI), บอร์ดสมองกลอาร์ดุยโน (Arduino) สำหรับระบบคัดแยกสีของวัตถุบนสายพานลำเลียง ด้วยโมดูลวัดค่าสี RGB ด้วย TCS230 โดยสื่อสารข้อมูลไปยังอุปกรณ์ PLC จากผลการทดลอง สามารถตรวจวัดค่าวัตถุสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ได้สมบูรณ์ ที่ระยะความสูงตรวจวัด 1.2 เซนติเมตร การควบคุมตำแหน่งแขนกลหุ่นยนต์ ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อน 0.83% ของแกนหมุน Base, 1% ของจุดหมุน Joint 1, 0.23% ของจุดหมุน Joint 2 และ 0.2% ของแนวแกน Z-axis
รายละเอียด: การพัฒนาการออกแบบและสร้างแขนกลคัดแยกสีวัตถุอัตโนมัติตามสายพานลำเลียง ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามการออกแบบให้แยกวัตถุที่เป็นสีของวัตถุ เคลื่อนย้ายวัตถุไปยังถาดเก็บที่กำหนดไว้ โดยอาศัยการควบคุมด้วย PLC [1] และ บอร์ด Arduino [2] สำหรับเชื่อมต่อเซนเซอร์โมดูลตรวจจับสี เป็นชนิดเก็บประจุอ่านค่าสีของวัตถุ แปลงผลเป็นสัญญาณที่แตกต่างกันตามแต่ละสีของวัตถุ ในการออกแบบและการพัฒนาที่ได้จากชิ้นงานนี้ สามารถนำไปใช้เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ในการฝึกปฏิบัติการด้านระบบควบคุมอัตโนมัติ และนำไปใช้เป็นแนวทางกับโรงงานอุตสาหกรรมประเภทงานแยกวัตถุในการผลิต เพื่อจำแนกสีวัตถุได้ตามที่โปรแกรมสั่งงาน แยกสีวัตถุก่อนที่จะนำไปใช้ในกระบวนการต่อไป โดยศึกษาการทำงานของแขนกล SCARA Robot [3] ที่มีความคล่องแคล่วและรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดในระยะการปฏิบัติการ สำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง แทนการเคลื่อนย้ายวัตถุด้วยคน เพราะมีความสะดวกหลายอย่างในเรื่องความต่อเนื่องของการทำงาน ความแม่นยำและเที่ยงตรง สามารถใช้ร่วมกับระบบสายพานลำเลียง สามารถประยุกต์ใช้กับระบบอัตโนมัติอื่นๆ ซึ่งเป็นผลดีต่อการผลิต การควบคุมคุณภาพ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีแนวคิดทำการออกแบบและพัฒนาระบบคัดแยกสีวัตถุอัตโนมัติตามสายพานลำเลียง เพื่อเป็นชุดศึกษาด้านปฏิบัติการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ให้เข้าใจกระบวนการทำงานของระบบแขนกลหุ่นยนต์ ระบบสายพานลำเลียงพร้อมชุดเก็บวัตถุ ระบบเซนเซอร์ และระบบควบคุมอัตโนมัติ ทั้งยังเรียนรู้การผสมผสานระบบที่มีความซับซ้อนต่อไปได้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8685
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
EECON45_SCARA.pdfการพัฒนาชุดศึกษาระบบคัดแยกสีของวัตถุบนสายพานลำเลียงด้วยแขนกลหุ่นยนต์สการ่า536.36 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น