กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8706
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงผลผลิตสำหรับกระบวนการแปรรูปกล้วย กรณีศึกษา : กลุ่มกล้วยอบแห้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PRODUCTIVITY IMPROVEMENT FOR BANANA PROCESSING CASE STUDY: BANANA DRYING GROUP IN CHACHOENGSAO PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คมศ์ ศักดิ์ศรีวัฒนา
คำสำคัญ: การปรับปรุงกระบวนการ
การเพิ่มประสิทธิภาพ
การลดปริมาณของเสีย
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: คมศ์ ศักดิ์ศรีวัฒนา. 2563. "การปรับปรุงผลผลิตสำหรับกระบวนการแปรรูปกล้วย กรณีศึกษา : กลุ่มกล้วยอบแห้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา." วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปกล้วย เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการแปรรูปกล้วย ตลอดจนวิเคราะห์ประสิทธิภาพการแปรรูปกล้วยของกลุ่มกล้วยอบแห้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แผนภาพสายธารคุณค่าแสดงกิจกรรมและการไหลของทรัพยากร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดความสูญเปล่า 7 ประการและแผนผังแสดงเหตุและผล และประยุกต์ใช้หลักการ ECRS และวงจรควบคุมคุณภาพในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต ซึ่งได้ออกแบบโรงอบเรือนกระจก โดยใช้ระบบอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบอบแห้งแบบลมร้อนจากก๊าซแอลพีจี ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงกระบวนการดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิการผลิตและสามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น โดยสามารถลดปริมาณของเสียจากการผลิตจากร้อยละ 15.36 เหลือร้อยละ 5.44 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมลดลงจาก 64.21 บาท เหลือ 51.82 บาทต่อกิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 19.3 ของต้นทุนการผลิตเดิม เมื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าจากการปรับปรุงกระบวนการแปรรูป พบว่า คืนทุนภายในระยะเวลา 8 เดือน 27 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นและเหมาะสม
รายละเอียด: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8706
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
คมศ์ ศักดิ์ศรีวัฒนา.pdf3.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น