กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9119
ชื่อเรื่อง: แนวทางการกําหนด LOD สําหรับงาน MEP เพื
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Denchai Woradechjumroen
คำสำคัญ: LOD
MEP
วันที่เผยแพร่: 21-กุมภาพันธ์-2023
สำนักพิมพ์: BIM Object สมาคม TBIM
แหล่งอ้างอิง: -
หมายเลขชุด/รายงาน: -
บทคัดย่อ: จากปัญหาความซับซ้อนของวิศวกรรมงานระบบประกอบ (mechanical, electrical and plumbing, MEP) อาคารที่มากกว่าในอดีตส่งผลต่อปัญหาการประสานงานตั้งแต่การออกแบบจนถึงการติดตั้งร่วมกับงานสถาปัตยกรรมและงานโครงสร้าง เทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศ (Building Information Modeling, BIM) ได้ถูกนำมาประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาการซ้อนทับของงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันให้มีความรวดเร็วมากขึ้น โดยกระบวนการ BIM สามารถลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และควบคุมกระบวนการต่างๆให้สอดคล้องและถูกต้อง ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ระบบ BIM ได้มีการใชเพื่อลดขั้นตอนความผิดพลาดอย่างแพร่หลายโดยมีปัจจัยหลักที่ต้นทุนงานก่อสร้างที่สูงมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานที่ได้ตกลงร่วมกันเพื่อง่ายต่อส่งการส่งต่อข้อมูลในรูปแบบของ open BIM ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Level of development (LOD) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการกำหนดความละเอียดของรูปทรงเลขาคณิต (LOD-G) และความละเอียดของข้อมูล (LOD-I) ในรูปแบบของ BIM object ที่สามารถนำไปใช้งานระหว่างกระบวนการทำงานตั้งแต่การออกแบบจนถึงการส่งมอบงานบริหารทรัพยากรอาคาร โดย LOD-I มีประโยชน์ในการกำหนดข้อมูลที่จำเป็นในแต่ละกระบวนการทำงาน เช่น ข้อมูลการออกแบบจะอยู่ในทุกระดับของ LOD ทั่วไป หากแต่ข้อมูลผู้ผลิตอาจจะจำเป็นตั้งแต่ระดับ LOD-400 ขึ้นไป ตามแนวทางของ CIC Building Information Modeling Standard เป็นต้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9119
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
แนวทางการกำหนด LOD สำหรับงาน MEP เพื่อการใช้งานในประเทศไทย - BIMSpaces.pdf354.49 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น