Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9301
Title: มาตรการทางกฎหมายในการดูแลผู้ป่วยจิตในราชทัณฑ์
Other Titles: LEGAL MEASURES FOR THE CARE OF PSYCHIATRIC PATIENTS IN CORRECTIONAL FACILITIES
Authors: วรัชยา สถิรานนท์
Keywords: มาตรการทางกฎหมาย
ผู้ป่วยจิตในราชทัณฑ์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วรัชยา สถิรานนท์. 2566. "มาตรการทางกฎหมายในการดูแลผู้ป่วยจิตในราชทัณฑ์." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการ และทฤษฎี ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยจิตในราชทัณฑ์และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตในราชทัณฑ์ตามกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย จากการศึกษาพบว่า ยังมีปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามและคำจำกัดความคำว่า “วิกลจริต” ตามบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 จึงทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันในความหมายของถ้อยคำต่าง ๆ และการไม่มีบทบัญญัติและปัญหาเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองผู้ป่วยจิตเวชในชั้นราชทัณฑ์ ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยทางจิตซึ่งมีหลักสําคัญอยู่ว่า ผู้ต้องโทษจําคุกที่วิกลจริตจะต้องไม่ถูกคุมขังในเรือนจําแต่จะต้องถูกย้ายไปอยู่ในสถานบําบัดทางจิตทันที ซี่งอยู่ในสถานพยาบาลที่ดูแลรักษาโรคด้านนี้โดยเฉพาะจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลเป็นพิเศษของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองในการดำเนินคดีผู้ป่วยจิตเวช การดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดเพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ป่วยตามสิทธิมนุษยชนและรับโทษทางอาญาจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ต้องหา หรือจำเลยมีความสามารถที่จะต่อสู้คดีป้องกันตนได้เต็มที่ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะต้องมีความเข้าใจในสภาพของการดำเนินคดีเกี่ยวกับตนและสามารถที่จะกระทำการตามที่กฎหมายบังคับไว้เพื่อประโยชน์แก่ตน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะบางประการในเรื่อง 1) ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันในความหมายของถ้อยคำต่าง ๆ และการมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานอัยการสั่งให้แพทย์ตรวจตัวผู้ต้องหาและเรียกให้แพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำ งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ตลอดจนส่งตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นผู้จิตเวชไปโรงพยาบาลโรคจิตหรือให้ผู้อนุบาลรับไปดูแลรักษาเช่นเดียวกับอำนาจของพนักงานสอบสวนและศาลที่กฎหมายให้อำนาจงดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือการพิจารณาไว้และให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปบำบัดรักษาจนกว่าจะหายวิกลจริต ทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติว่าหากพบผู้วิกลจริตในชั้นพนักงานอัยการจะต้องดำเนินการเช่นใด โดยเพิ่มเติมข้อความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ว่า “วิกลจริต” 2) สมควรจัดส่งตัวผู้ป่วยจิตเวชไปรักษาในสถานที่ที่เหมาะสมและจัดให้มีสถานที่สําหรับควบคุมขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันการควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ชั่วคราวก่อนนําตัวไปขออํานาจศาลฝากขัง กระทําโดยควบคุมตัวไว้ในห้องขังที่สถานีตํารวจ ซึ่งห้องขังบางแห่งไม่ได้มาตรฐาน และควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้รวมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกเป็นส่วนสัด หรือ ในกรณีที่ผู้ต้องหาไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นฝากขัง ผู้ป่วยจิตเวชจะต้องถูกนําตัวไปฝากขังไว้ในเรือนจําเช่นเดียวกับผู้ต้องหาอื่นๆ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคสามจะบัญญัติให้ศาลที่จะไม่ออกหมายขังหรืออาจออกหมายปล่อยผู้ต้องหาหรือจําเลย ซึ่งถูกขังอยู่ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจําเลยเจ็บป่วยได้แต่ต้องเป็นการเจ็บป่วยที่หากต้องขังจะถึงอันตรายแก่ชีวิตเท่านั้น ซึ่งอาการป่วยทางจิตเวชทั่วไปเป็นอาการป่วยเกี่ยวกับจิตและประสาทไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดที่หากถูกขังจะทําให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ศาลจึงไม่อาจใช้อํานาจตามมาตราดังกล่าวได้ 3) หลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่า การปฏิบัติต่อผู้ป่วยตามหลักสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าว ตามรัฐธรรมนูญไทยและกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน บัญญัติให้บุคคลทุกคนมีสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย แม้ว่าบุคคลนั้นไร้สถานะทางกฎหมายโดยสิ้นเชิง การที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้ตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน เป็นพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนการเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าวด้วย
Description: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9301
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.