Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9329
Title: ปัญหาการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
Other Titles: PROBLEMS OF PROTECTING THE RIGHTS OF CHILDREN AND JUVENILE INVOLVING IMMIGRATION ACT B.E. 2522 (1979)
Authors: ลาวัลย์ หอมสุวรรณ์
Keywords: คุ้มครองสิทธิ
คนเข้าเมือง
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ลาวัลย์ หอมสุวรรณ์. 2566. "ปัญหาการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไม่ได้นิยามความหมายของเด็กและเยาวชนเอาไว้เลย มีบางมาตราเท่านั้นที่บัญญัติคำว่าเด็กไว้แต่มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ของอายุเด็กและเยาวชนไว้แต่อย่างใด แม้มาตรา 14 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ประกาศตามวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่เด็กอายุต่ำกว่าสิบสองปี”และมาตรา 47 วรรคสองที่กำหนดว่าในกรณีที่คนต่างด้าวอายุต่ำกว่าสิบสองปีได้รับอนุญาตให้มีถิ่น ที่อยู่ในราชอาณาจักร ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองต้องขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในนามของคนต่างด้าวผู้นั้น ในการนี้อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะออกใบสำคัญถิ่นที่อยู่ให้ต่างหาก หรือรวมกันกับผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ได้” แต่ตามมาตรา 19 วรรคสาม ที่กำหนดว่าเด็กที่เข้ามาโดยมีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อการค้าประเวณี การค้าหญิง หรือเด็ก การค้ายาเสพติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากร หรือเพื่อประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่อาจอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ชั่วคราวโดยสั่งให้บุคคลดังกล่าวมารายงานตน และตอบคำถามของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือจะสั่งให้ไปรายงานตนและตอบคำถามของเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้นั้นอาศัยอยู่ตามระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดก็ได้ แต่ระยะเวลาที่กำหนดให้รายงานตนและตอบคำถามต้องห่างกันไม่น้อยกว่าเจ็ดวันต่อครั้ง จะเห็นได้ว่ามีปัญหาในการตีความอายุของเด็กและเยาวชนดังกล่าวว่าจะบังคับใช้แก่เด็กและเยาวชนอายุเท่าใด ซึ่งตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 บัญญัติไว้ต่างจากกฎหมายอื่นๆ และไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน การตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดต่อกฎหมายคนเข้าเมืองเมื่อเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาพบว่าทั้งสองประเทศข้างต้นนี้ก็มีข้อแตกต่างกัน ในส่วนของขั้นตอนภายหลังจากการจับกุมตัวเด็กผู้กระทำผิด คือ ในสหรัฐอเมริกาเมื่อจับกุมเด็กที่กระทำความผิดได้แล้วจะมีเจ้าหน้าที่อินเทค (Intake Office) มาคอยพิจารณาคำร้องทุกข์และ ข้อกล่าวหาว่ามีมูลหรือไม่ โดยรวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมดจากตัวบุคคลและสภาพแวดล้อมของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้เสียหาย ครอบครัว ชุมชน โรงเรียนที่เด็กเรียนอยู่ เพื่อจะประเมินว่าเด็กที่กระทำผิดเหล่านี้สมควรได้รับการลงโทษอย่างไรจึงจะเหมาะสม สามารถที่จะแก้ไขฟื้นฟู เยียวยาให้กลับมาเป็นเด็กที่ดีในสังคมได้หรือไม่ หรือควรที่จะส่งไปศาลเพื่อพิพากษาคดีต่อไป จนกระทั่งให้ความเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นสมควรได้รับการพิจารณาลงโทษอย่างไร จึงเสมือนว่า เจ้าหน้าที่ อินเทคนั้น เป็นหน้าที่พิเศษที่สหรัฐอเมริกาตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลเด็กหรือเยาวชนในขั้นเริ่มแรก หลังจากถูกจับกุมและได้รับแจ้งข้อหา ยังมีปัญหาบังคับใช้โทษปรับแก่เด็กและเยาวชนไทยและต่างด้าวที่แตกต่างกันบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 นี้เป็นบทบัญญัติทั่วไปมิได้กำหนดบังคับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายคนเข้าเมืองของไทยว่าจะต้องเป็นเด็กหรือเยาวชนหรือผู้ใหญ่แต่กลับแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันศึกษาเฉพาะในกรณีเด็กหรือเยาวชนถ้าหากผู้ฝ่าฝืนเป็นเด็กหรือเยาวชนต่างด้าวที่ฝ่าฝืนมาตรา 18 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 20,000 บาทแต่ถ้าหากผู้ฝ่าฝืนเป็นเด็กหรือเยาวชนที่มีสัญชาติไทยที่ฝ่าฝืนมาตรา 18 วรรคสองกับมีโทษปรับสถานเดียวไม่เกิน 2,000 บาท เป็นบทบัญญัติที่แสดงให้เห็นชัดได้ว่าทำให้เกิดความไม่เสมอภาค หรือความไม่เท่าเทียมกันตามหลักความเสมอภาค (equality before the law) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือเยาวชนต่างด้าวหรือเด็กหรือเยาวชนที่มีสัญชาติไทยก็ควรได้รับความปกป้องคุ้มครองด้วยความเท่าเทียมกันโดยหลักการผลประโยชน์สูงสุดของเด็กหรือเยาวชนภายใต้อนุสัญญาสิทธิเด็กซึ่งไทยเป็นภาคีสมาชิก
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9329
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.