กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9452
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายในการทำการเกษตรแบบพันธะสัญญา (Contract Farming) ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE LEGAL PROBLEMS IN CONTRACT FARMING IN THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทยากร สุวรรณเรืองศรี
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมการเกษตร
สินค้าโภคภัณฑ์
สัญญาควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: วิทยากร สุวรรณเรืองศรี. 2556. “ปัญหากฎหมายในการทำการเกษตรแบบพันธะสัญญา (Contract Farming) ในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: ระบบการทำเกษตรพันธะสัญญาที่ทำกันอยู่ในประเทศไทยมีพัฒนาการมาจากการทำเกษตรแบบครบวงจร ซึ่งเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายกันมากในหมู่เกษตรกรในช่วงการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) ในเวลานั้นภาครัฐได้ส่งเสริมให้มีการทำเกษตรพันธะสัญญา โดยมีภาครัฐ ภาคธุรกิจการเงินที่เป็นแหล่งทุน เกษตรกรและผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเกษตรเข้าร่วมกัน เป็นสี่ฝ่าย เกิดเป็น “แผนประสานความร่วมมือสี่ภาคเพื่อพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร” หรือเรียกแบบไม่เป็นทางการว่า “โครงการสี่ประสาน” มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ประสานงานและดำเนินงานในลักษณะของการทำความตกลงระหว่างภาคเอกชนและเกษตรกรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีผลดีต่อเกษตรกรมากยิ่งขึ้นจึงสนับสนุนให้มีการทำข้อตกลงในรูปแบบของ Contract Farming และรัฐควรเข้าไปดูแลและประสานงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9452
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น