กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9471
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการดำเนินวิธีอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาททางสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับผู้ลงทุนเอกชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS OF ARBITRATION IN THE CONTRACT DISPUTE SETTLEMENT BETWEEN STATE AGENCIES AND PRIVATE INVESTORS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ถนัดกิจ นิวาทวงษ์
คำสำคัญ: อนุญาโตตุลาการ
ระงับข้อพิพาท
หน่วยงานของรัฐ
วันที่เผยแพร่: 2567
สำนักพิมพ์: Sripatum University
แหล่งอ้างอิง: ถนัดกิจ นิวาทวงษ์. 2558. "ปัญหาการดำเนินวิธีอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาททางสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับผู้ลงทุนเอกชน." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_2558
บทคัดย่อ: ประเทศไทยได้กำหนดวิธีการอนุญาโตตุลาการไว้ในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2520 และภาครัฐยอมรับว่าวิธีการอนุญาโตตุลาการเป็นระบบสากลจึงมีการกำหนดวิธีการอนุญาโตตุลาการในสัญญาดังกล่าวตลอดมา โดยมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ได้บัญญัติรับรองให้สัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในสัญญาดังกล่าวแล้ว ในหลายกรณีโดยเฉพาะสัญญาลงทุนโครงการขนาดใหญ่หรือสัญญาสัมปทานของรัฐ ปรากฏว่าในหลายโครงการมักจะเกิดปัญหาข้อพิพาททางสัญญาและหน่วยงานของรัฐหลายแห่งต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการ และที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 เรื่อง การทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน กำหนดว่า "สัญญาทุกประเภทที่หน่วยงานของรัฐทำกับเอกชนในไทยหรือต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ ไม่ควรเขียนผูกมัดในสัญญาให้มอบข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด แต่หากมีปัญหาหรือความจำเป็นหรือเป็นข้อเรียกร้องของคู่สัญญาอีกฝ่ายที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป"
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9471
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น