Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9713
Title: การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง โดยใช้กระบวนการ EDFR
Other Titles: The Development of Creative-Tourism Management on the OTOP Nawatwithi Tourism Community in Phathalung Province Using the EDFR Process เพีย
Authors: เพียงใจ คงพันธ์
อนงค์ ไต่วัลย์
ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์
Keywords: การพัฒนา
การจัดการ
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
Issue Date: 25-April-2023
Publisher: วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
Citation: -
Series/Report no.: ปีที่ 15 ฉบับที่ 1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง และ 2) เพื่อพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ขั้นตอน คือ 1) EDFR รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 19 คน 2) EDFR รอบที่ 2 และรอบที่ 3 การตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดิม ให้พิจารณาคำตอบและยืนยันความสอดคล้องของข้อมูล หาฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 1) คุณสมบัติในเชิงพื้นที่ คือ 1.1) ชุมชนมีความหลากหลายและโดดเด่นทางวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ 1.2) ชุมชนมีความตระหนักรู้ในคุณค่าของชุมชนโดยเจ้าของวัฒนธรรม 2) คุณสมบัติในเชิงกระบวนการ คือ 2.1) นักท่องเที่ยวกับชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 2.2) นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม 2.3) นักท่องเที่ยวเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพื้นที่ท่องเที่ยว 2.4) ไม่ทำลายคุณค่าของชุมชนแต่กลับนำไปสู่ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม 2. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วยหลักการพัฒนา 2 ด้าน คือ 1. ด้านการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน 1.2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต 1.3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม 1.4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม 1.5) ด้านการบริการและความปลอดภัย 2. ด้านการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ 2.1) ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 2.2) การตลาดเชิงสร้างสรรค์ 2.3) การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Description: การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าบนพื้นฐาน อัตลักษณ์ความเป็นไทย วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิมจากการลงมือทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เอกลักษณ์ท้องถิ่นและเข้าถึงความรู้สึก ที่มีต่อชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จะช่วยสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและทำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นในตนเองมากยิ่งขึ้น ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่แท้จริง (Designated Areas for Sustainable Tourism Administration, 2018) สามารถกล่าวได้ว่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวโดยรวม และมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปีอย่างมีนัยยะสำคัญ (Promkan, Phratheppariyattimedhi, & Girdwichai, 2019) เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงได้รับความไว้วางใจให้เป็นฟันเฟืองหลักที่สำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และกระจายโอกาสในเชิงพื้นที่ให้กับท้องถิ่น (Laongpliu, 2019) ซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561-2565 อีกทั้งยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9713
Appears in Collections:BUS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6. ผศ.ดร.ประเสริฐ ค่านำหนัก 1.0.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.