CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "นฤดล จิตสกูล"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 8
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และการบริหารจัดการสื่อออนไลน์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่(2561-12-20) นฤดล จิตสกูลบทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น และ 2) เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่การบริหารจัดการสื่อออนไลน์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ให้สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคให้มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมมากขึ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ.2561 ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการวิธีสังเกตุการณ์และสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยววัยรุ่น ในช่วง 15 – 30 ปี จำนวน 200 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ รวมไปถึงวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ ตลอดจนกำหนดประเด็นสำคัญ ๆ ต่อการพัฒนาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการบริหารจัดการสื่อออนไลน์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น และเกิดเป็นผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น ด้านพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยววัยรุ่น พบว่า จะให้ความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมในลักษณะที่เป็นของกิฟท์ช็อป เล็กๆ ของตกแต่งบ้าน ที่มีความกระทัดรัด หาซื้อง่าย พกพาสะดวก ราคาไม่แพง เหมาะแก่การนำไปเป็นของขวัญของฝาก ในโอกาสที่ได้มาเที่ยวจังหวัดแพร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภท เสื้อหม้อห้อม ซองใส่มือถือ และกระเป๋าผ้าลายปักทำมือประเภทต่างๆ เป็นต้น โดยมักจะมีการสืบค้นข้อมูลจากสื่อออนไลน์ที่เป็นประเภทเฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fan page) รองลงมา คือ เว๊ปไซต์พันธ์ทิพย์ ดอทคอม (www.Puntip.com) และแอพลิเคชั่นไลน์ (Line Application) ตามลำดับ เพื่อประกอบความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อ ว่าเป็นสินค้าที่อยู่ในกระแส ใครมาเที่ยวจังหวัดแพร่ ต้องซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน ดังนั้นเมื่อนำข้อมูลด้านด้านพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภค และข้อมูลด้านการใช้สื่ออนไลน์ของผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่นแล้ว ทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่ากลุ่มโอทอป และการบริหารจัดการสื่อออนไลน์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ออกแบบและผลิตสินค้าที่เกิดจากผ้าหม้อห้อมได้ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น ออกแบบผลิตภัณฑ์ตลอดจนบรรจุภันฑ์ของสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โพสต์ แชร์ ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ให้ตรงกับช่องทางและประเภทของสื่อที่กลุ่มผู้บริโภคใช้ได้อย่างตรงไปตรงมาและมีความชัดเจนในการให้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ท้องถิ่น ที่คิดค้น ออกแบบและสร้างสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อม เข้ากระบวนการด้านการจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร สำหรับการป้องกันการทำซ้ำหรือลอกเลียนแบบ ซึ่งส่งผลทำให้มูลค่าของผลิตภัณฑ์ลดลง เพราะสินค้าล้นตลาด และเนื่องจากผ้าหม้อห้อมหรือผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมบางประเภทเป็นสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่าของชุมชน จังหวัด และประเทศชาติ คำสำคัญ: การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การบริหารจัดการ, สื่อออนไลน์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม, ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่รายการ การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์(2563-12-18) นฤดล จิตสกูลการสื่อสารด้วยภาพเป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ในการถ่ายทอดเรื่องราวจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ เป็นการออกแบบสื่อเพื่อสร้างการรับรู้ทางสายตาไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เน้นสื่อสารด้วยภาพประกอบมากกว่าการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร ทำให้เกิดความโดดเด่น เกิดแรงดูดใจ ตลอดจนการตัดสินใจซื้อในสินค้าและบริการ ซึ่งถือเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ ในยุคปัจจุบันการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ นิยมใช้ในช่องทางสื่อสารผ่านสื่ออย่างแพร่หลาย โดยหากแบ่งตามลักษณะสื่อ ของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ สามารถแบ่งได้ 6 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. การออกแบบเครื่องแต่งกาย 2. การออกแบบงานโฆษณา 3. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 4. การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 5. การออกแบบสัญลักษณ์สื่อสารความหมาย และ 6. การออกแบบนิทรรศการ แต่ถ้าจะแบ่งตามประเภทของวิธีการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. ภาพถ่าย 2. ภาพวาดลายเส้น 3. ภาพวาดระบายสี 4. ภาพพิมพ์ 5. ภาพกราฟิกและภาพวาดดิจิทัล และ 6. ภาพประกอบสื่อผสม ซึ่งนอกเหนือจากนี้แล้ว ยังสามารถแบ่งตามรูปแบบเนื้อหาของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ได้อีก 3 รูปแบบ คือ 1. ภาพประกอบแบบเหมือนจริง 2. ภาพประกอบแบบดัดแปลงธรรมชาติ และ 3. ภาพประกอบแบบอิสระรายการ การออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อการสื่อสารในงานธุรกิจ(2562-12-19) นฤดล จิตสกูลธุรกิจยุคดิจิทัล เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว ดังนั้นสื่อจะต้องมีความชัดเจน กระชับ ทำให้ลูกค้าเข้าใจในข้อมูลของสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด เทรนด์ที่กำลังมาแรงในยุคปัจจุบันก็คือ อินโฟกราฟิกในการสื่อสารธุรกิจ ซึ่งเป็นกระบวนการนำข้อมูลความรู้ที่ต้องการจะสื่อสารในธุรกิจ อาจจะเป็นข้อมูลสินค้าหรือบริการ มาใช้ออกแบบสื่อสารในรูปแบบของภาพกราฟิก ในรูปแบบของสัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ หรือลักษณะอื่นๆ ที่เป็นการสื่อสารด้วยภาพ ทำให้เกิดการเข้าใจที่ง่ายในระยะเวลาที่สั้น การออกแบบอินโฟกราฟิกที่ดีในการสื่อสารงานธุรกิจ จะมีลักษณะ ดังนี้ 1. เลือกหัวข้อเรื่องของธุรกิจให้ชัดเจนเพียงหัวข้อเดียว 2. ต้องออกแบบให้เข้าใจง่าย 3. เลือกข้อมูลธุรกิจที่สำคัญมาเป็นประเด็นหลักในการสื่อสาร 4. ต้องมีความมั่นใจในข้อเท็จจริงของข้อมูลธุรกิจ 5. ใช้อินโฟกราฟิกเป็นตัวเล่าเรื่องหรือดำเนินเรื่องในการสื่อสารธุรกิจ 6. สื่อสารธุรกิจจะมีคุณภาพ ต้องออกแบบอินโฟกราฟิกให้ดี 7. การใช้สี ที่ดึงดูดความสนใจ 8. การใช้คำที่สั้น กระชับ และสื่อสารชัดเจน 9. การตรวจสอบตัวเลขข้อมูลที่ชัดเจน 10. การออกแบบไฟล์อินโฟกราฟิกให้มีขนาดเล็ก การพัฒนารูปแบบการสื่อสารจากรูปแบบเดิม ให้เป็นการสื่อสารด้วยอินโฟกราฟิก และเกิดประโยชน์ให้กับธุรกิจ ต้องมีการศึกษากลุ่มเป้าหมาย ใช้การสื่อสารด้วยรูปภาพให้มากกว่าการใช้ตัวอักษร และออกแบบภาพจากคอนเทนท์ของธุรกิจให้ดูดี เพื่อการส่งต่อข้อมูลที่กว้างขึ้นรายการ ผลการวิเคราะห์ เรื่อง การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรม ของผู้เรียน จากกระแสดราม่า : กรณีศึกษามิวสิกวิดีโอเพลง LALISA, ลิซ่า วงแบล็กพิงก์(2564-10-28) นฤดล จิตสกูลจากกระแสดราม่าจากการเปิดตัวเพลงใหม่ LALISA ของลิซ่า วง BLACKPINK กลายเป็นกระแส ดราม่าที่ผู้เรียนให้ความสนใจในการนำมาเรียนรู้ เรื่องการเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรม โดยพบว่า ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และเกิดการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรมได้ 2 ประเด็น คือ 1) ด้านศิลปวัฒนธรรม และ 2) ด้านสังคม การเมือง ซึ่งขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีดังนี้ คือ 1) การค้นหาและศึกษาประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้นไม่เกิน 72 ชั่วโมง 2) การจัดลำดับของประเด็นดราม่า 3) การเลือกประเด็นดราม่าที่มีความสนใจสูงสุด 2 เรื่อง คือ ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย และด้านสังคม การเมือง 4) ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นดราม่า เป็นคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับเรื่อง มิวสิกวิดีโอเพลงใหม่ LALISA ของลิซ่า วงแบล็กพิงก์ 5) ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยให้ทำแบบสอบถาม 6) สุ่มประเด็น ดราม่าที่ผู้เรียนมีความสนใจ พร้อมเหตุผลสนับสนุน และ 7) นำบทเรียนที่ต้องการให้ผู้เรียนศึกษา มาเป็นโจทย์การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรม ผ่านมิวสิกวิดีโอ เพลง LALISA ที่มีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่รายการ ผลการวิเคราะห์ เรื่อง การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรม ของผู้เรียน จากกระแสดราม่า : กรณีศึกษามิวสิกวิดีโอเพลง LALISA, ลิซ่า วงแบล็กพิงก์(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564, 2564-10-28) นฤดล จิตสกูลการเรียนรู้ในยุค 2021 ที่มีความทันสมัยและสะดวกสบายในการเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการเลือกรับสารที่หลากหลายและรวดเร็ว ทำให้ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์ไปได้ไกลกว่าในอดีตมากมายหลายเท่าตัว กระแสสังคมออนไลน์กลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีสิ้นสุด กระแสสังคมออนไลน์ หรือกระแสดราม่าบนโซเชียลมีเดียประเภทต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นและส่งต่อได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน สามารถทำให้สามารถส่งต่อข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นได้ทันที ในประเด็นที่คนให้ความสนใจและเกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่าง ทันทีที่มีการเปิดตัวเพลงใหม่ “LALISA” ของ ลิซ่า หรือ “ลลิษา มโนบาล” ศิลปินไทยหนึ่งเดียวในวงแบล็กพิงก์ ซึ่งเป็นศิลปินที่มีผู้คนให้การตอบรับและชื่นชมเป็นอย่างมาก ในความสามารถของลิซ่าในการร้อง เต้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการเผยแพร่เพลง LALISA ในสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของการเข้าชม มิวสิกวิดีโอเพลงนี้จำนวนมาก ซึ่งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา YouTube ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า มิวสิกวิดีโอ ‘LALISA’ ของ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลสาวสายเลือดไทย มียอดการรับชมเอ็มวีสูงที่สุดใน 24 ชั่วโมงแรก ถึง 73.6 ล้านวิว ส่งให้ ลิซ่า สร้างสถิติใหม่กลายเป็นศิลปินหญิงเดี่ยวที่มียอดผู้ชมเอ็มวีที่สูงสุดในรอบ 24 ชม. ด้วยกระแสดราม่าที่มีผู้เรียนให้ความสนใจ ผู้สอนจึงนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการวิเคราะห์การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้เรียน จากกระแสดราม่า : กรณีศึกษามิวสิกวิดีโอเพลง LALISA, ลิซ่า วงแบล็กพิงก์ ทำให้เป็นการเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ จากสิ่งที่ผู้เรียนกำลังให้ความสนใจในกระแสดราม่า เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสนุกสนานในชั้นเรียนรายการ แนวทางการสอนคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาพ(2566-03-19) นฤดล จิตสกูลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการสอนคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาพ ตัวอย่างที่ใช้ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้สอนคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 9 คน 2) นักศึกษาที่ลงเรียนในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ 300 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยการเลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบลูกโซ่ (Snowball sampling) จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย 2 เครื่องมือ คือ แบบสอบถามออนไลน์ และแบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยลงพื้นที่ในการวิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ในการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ควรมีลักษณะดังนี้ 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะในการใช้โปรแกรมเพื่อออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้นได้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ 2) ด้านเนื้อหารายวิชา ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเนื้อหาและกำหนดโจทย์ที่ตนเองให้ความสนใจ ทำให้สามารถสื่อสารผลงานการสื่อสารด้วยภาพได้อย่างชัดเจนตามความสนใจของตนเอง 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีขั้นตอนดังนี้ (3.1) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางโจทย์ในการฝึกทักษะการสื่อสารด้วยภาพ (3.2) การรวบรวมข้อมูลเพื่อเขียนดีไซน์บรีฟ (3.3) การส่งบรีฟในการฝึกทักษะตามโจทย์ (3.4) การวิพากษ์วิจารณ์บรีฟโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน เปรียบเสมือนเป็นลูกค้าในการจ้างงานออกแบบ (3.5) การพัฒนาแบบ แก้ไขงานออกแบบ (3.6) การนำเสนอผลงานการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก และ (3.7) การประเมินผลตามเกณฑ์ 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน ใช้สื่อ Multimedia ผ่านระบบ dlearning เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหามาล่วงหน้า 5) ด้านการวัดผลประเมินผล วัดผลจากความรู้ในการนำเสนอผลงาน และผลงานการออกแบบด้วยภาพ มีการเปิดโอกาสให้เพื่อนได้มีส่วนในการประมินให้คะแนนเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ โดยแนวทางนี้เน้นลักษณะการฝึกทักษะของผู้เรียนในการสื่อสารด้วยภาพ ทำให้เกิดเป็นผลงานที่ผู้เรียนกำหนดโจทย์เอง ทำให้เกิดการค้นคว้าอิสระในการหาความรู้และฝึกปฏิบัติด้วยโปรแกรมที่ตนเองถนัด ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนคอมพิวเตอร์กราฟิก โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาพ โดยศึกษาจากลักษณะของผลงาน และวิวัฒนาการของผลงานก่อนและหลังการจัดการเรียนรายการ แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวคิดกรีนดีไซน์ สำหรับธุรกิจกรีนคาเฟ่โดยเฉพาะ(2564-10-28) นฤดล จิตสกูลกรีนคาเฟ่ (Green Café) เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำธุรกิจร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเทรนด์กระแสเรื่องของรักษ์โลกกำลังเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน แนวคิดของการทำธุรกิจกรีนคาเฟ่ในประเทศไทย จึงเป็นการทำธุรกิจขายกาแฟผสมรวมกับการขายอาหารและเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ โดยนำแนวคิดเรื่องของธรรมชาติมาใช้ในระบบการจัดการร้าน ตั้งแต่เรื่องของการตกแต่งร้านไปตลอดจนภาชนะที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันยังขาดภาชนะหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับกรีนดีไซน์ที่แท้จริง อีกทั้งยังเกิดต้นทุนและวัสดุเหลือใช้ จากการประดับตกแต่งเมนูโดยไม่จำเป็น แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวคิดกรีนดีไซน์ สำหรับธุรกิจกรีนคาเฟ่โดยเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาด้านต้นทุน มีแนวทางทำได้ 4 รูปแบบ คือ 1) การออกแบบรูปร่างรูปทรงที่อิงจากธรรมชาติ 2) การเขียนลวดลายประดับตกแต่งเป็นสีใต้เคลือบ 3) การออกแบบและผลิตด้วยระบบลีน (Lean System) ในการลดปริมาณพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ และ 4) การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยมีวัสดุอื่น ๆ มาตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ไม้ ผ้า และวัสดุอื่น เป็นต้นรายการ แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวคิดกรีนดีไซน์ สำหรับธุรกิจกรีนคาเฟ่โดยเฉพาะ(2564-10-28) นฤดล จิตสกูลกรีนคาเฟ่ (Green Café) เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำธุรกิจร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเทรนด์กระแสเรื่องของรักษ์โลกกำลังเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน แนวคิดของการทำธุรกิจกรีนคาเฟ่ในประเทศไทย จึงเป็นการทำธุรกิจขายกาแฟผสมรวมกับการขายอาหารและเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ โดยนำแนวคิดเรื่องของธรรมชาติมาใช้ในระบบการจัดการร้าน ตั้งแต่เรื่องของการตกแต่งร้านไปตลอดจนภาชนะที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันยังขาดภาชนะหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับกรีนดีไซน์ที่แท้จริง อีกทั้งยังเกิดต้นทุนและวัสดุเหลือใช้ จากการประดับตกแต่งเมนูโดยไม่จำเป็น แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวคิดกรีนดีไซน์ สำหรับธุรกิจกรีนคาเฟ่โดยเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาด้านต้นทุน มีแนวทางทำได้ 4 รูปแบบ คือ 1) การออกแบบรูปร่างรูปทรงที่อิงจากธรรมชาติ 2) การเขียนลวดลายประดับตกแต่งเป็นสีใต้เคลือบ 3) การออกแบบและผลิตด้วยระบบลีน (Lean System) ในการลดปริมาณพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ และ 4) การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยมีวัสดุอื่น ๆ มาตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ไม้ ผ้า และวัสดุอื่น เป็นต้น