CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ พลิกฟื้นคุณค่าพื้นที่ย่านตลาดพลูด้วยทุนทางวัฒนธรรม(คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2566-06-22) ผู้ช่วยศาสตรจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจบทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ย่านตลาดพลู และสร้างการรับรู้คุณค่าของผู้คน อาหาร สถานที่ อันเป็นมรดกวัฒนธรรมย่านตลาดพลูในช่องทางการรับรู้สาธารณะ และการสร้างประสบการณ์การรับรู้แบบใหม่ในย่าน โดยผ่านสื่อดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาผู้ประกอบการในกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้รักษาและต่อยอดโอกาสทางเศรษฐกิจจากต้นทุนทางวัฒนธรรมเดิม การดำเนินงานวิจัยโดยการสัมภาษณ์และจัดบทสนทนาแบบมีส่วนร่วม (Participatory dialogue/focus group) เพื่อเก็บข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมทั้งแบบรายปัจเจกและกลุ่มเฉพาะ เพื่อให้ชุมชนช่วยเสนอไอเดียในการพัฒนาสินค้า บริการ และคุณค่าในชุมชนตลาดพลู รวมถึงการแก้ปัญหาการล่มสลายของวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะการแสดงอันเป็นตำนานเล่าขานเรื่องราวของชุมชน ผู้คนในพื้นที่ย่านตลาดพลู ผลการวิจัย พบว่า ทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ย่านตลาดพลู ประกอบด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มศิลปะการแสดงและกลุ่มอาหาร ทุนทางด้านสถาปัตยกรรม สถานที่ และทุนวัฒนวิถีความเชื่อศรัทธาของชุมชนไทยจีน จากคำตอบเรื่องทุนวัฒนธรรมที่ได้จึงนำความต้องการของผู้นำกลุ่มและผู้ประกอบการที่ต้องการสืบทอดรักษาคุณค่าความเป็นต้นแบบที่เป็นตำนานของกลุ่มตนเอง และต้องการสร้างการรับรู้ในวงกว้างไม่จำกัดเฉพาะผู้คนในพื้นที่ย่านตลาดพลูเท่านั้น การสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และการขยายฐานของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมสืบสานคุณค่ามรดกของย่านมาสร้างสรรค์และผลิตเนื้อหาเล่าเรื่อง สร้างการรับรู้คุณค่าผ่านสื่อดิจิทัลและสัมผัสประสบการณ์จริงจากกิจกรรมที่สร้างสรรค์สร้างการมีส่วนร่วมโดยชุมชนพื้นที่ย่านตลาดพลู Abstract This research article has the objective of studying the cultural capital of the Talad Plu area, the building of public awareness regarding the cuisine, places, and cultural heritage of the Talad Plu area through public channels. New experiential awareness of attractions on digital platforms to advance opportunities for the new generation of entrepreneurs. Build the economic opportunities provided by the existing cultural capital. The research was conducted through participatory dialogue/focus groups to collect data on cultural capital at the levels of the individual and specialized groups and to provide a platform for the community to present ideas on the development of products, services, and values in the area, as well as solutions to problems affecting the deterioration of the communal culture, traditions, the arts, and stories. The research found that the cultural capital in the Talad Plu area can be grouped into the performing arts, cuisine, architecture, places, and the way of life and beliefs of the Thai-Chinese community. The leaders and entrepreneurs have the desire to pass on the values and stories of their groups and raise awareness of these values to a wider audience and not just those living in the Talad Plu area. They also want to creatively add commercial value to existing products and add commercial value and encourage the participation of the new generation to pass on the old heritage through the creation of new content storytelling for digital platforms and experiential activities that encourage the communal participation of those residing in the Talad Plu area.รายการ แนวทางการสอนคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาพ(2566-03-19) นฤดล จิตสกูลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการสอนคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาพ ตัวอย่างที่ใช้ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้สอนคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 9 คน 2) นักศึกษาที่ลงเรียนในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ 300 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยการเลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบลูกโซ่ (Snowball sampling) จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย 2 เครื่องมือ คือ แบบสอบถามออนไลน์ และแบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยลงพื้นที่ในการวิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ในการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์กราฟิกในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ควรมีลักษณะดังนี้ 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะในการใช้โปรแกรมเพื่อออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้นได้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ 2) ด้านเนื้อหารายวิชา ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเนื้อหาและกำหนดโจทย์ที่ตนเองให้ความสนใจ ทำให้สามารถสื่อสารผลงานการสื่อสารด้วยภาพได้อย่างชัดเจนตามความสนใจของตนเอง 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีขั้นตอนดังนี้ (3.1) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางโจทย์ในการฝึกทักษะการสื่อสารด้วยภาพ (3.2) การรวบรวมข้อมูลเพื่อเขียนดีไซน์บรีฟ (3.3) การส่งบรีฟในการฝึกทักษะตามโจทย์ (3.4) การวิพากษ์วิจารณ์บรีฟโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน เปรียบเสมือนเป็นลูกค้าในการจ้างงานออกแบบ (3.5) การพัฒนาแบบ แก้ไขงานออกแบบ (3.6) การนำเสนอผลงานการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก และ (3.7) การประเมินผลตามเกณฑ์ 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน ใช้สื่อ Multimedia ผ่านระบบ dlearning เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหามาล่วงหน้า 5) ด้านการวัดผลประเมินผล วัดผลจากความรู้ในการนำเสนอผลงาน และผลงานการออกแบบด้วยภาพ มีการเปิดโอกาสให้เพื่อนได้มีส่วนในการประมินให้คะแนนเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ โดยแนวทางนี้เน้นลักษณะการฝึกทักษะของผู้เรียนในการสื่อสารด้วยภาพ ทำให้เกิดเป็นผลงานที่ผู้เรียนกำหนดโจทย์เอง ทำให้เกิดการค้นคว้าอิสระในการหาความรู้และฝึกปฏิบัติด้วยโปรแกรมที่ตนเองถนัด ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนคอมพิวเตอร์กราฟิก โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาพ โดยศึกษาจากลักษณะของผลงาน และวิวัฒนาการของผลงานก่อนและหลังการจัดการเรียนรายการ สถานการณ์ภาพยนตร์โลกและภาพยนตร์ไทยหลังการระบาดของโรคโควิด-19(ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ผศ.ชาญวิทย พรหมพิทักษ์จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลก จากการสำรวจพบว่า โรงภาพยนตร์มีรายได้ลดลงอย่างมากตั้งแต่เกิดการระบาด อันเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมโรคนั่นเอง เมื่อโรงภาพยนตร์ไม่สามารถให้บริการได้ จึงส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์เลื่อนการเข้าฉายของภาพยนตร์ที่ถ่ายทำเสร็จแล้ว รวมถึงการประกาศเลื่อนการถ่ายทำออกไปอย่างไม่มีกำหนด สถานการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และโรงภาพยนตร์สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้ง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งระบบก็พร้อมกลับมาดำเนินต่อทันที เห็นได้จากตัวเลขรายได้ของโรงภาพยนตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แม้จะกลับมาให้บริการได้และบริษัทผู้ผลิตสามารถดำเนินการตามปกติ แต่ความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคมีผลทำให้บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหาพันธมิตรเพื่อการหาช่องทางจัดจำหน่ายคู่ขนานไปกับการฉายใน โรงภาพยนตร์ซึ่งยังคงเป็นช่องทางหลักอยู่เช่นเดิม รวมถึงให้ความสำคัญกับการผลิตภาพยนตร์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นอีกทางเลือกของการผลิตภาพยนตร์เพื่อขยายฐานผู้ชมสู่ตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดอีกด้วยรายการ เว็บตูน : เรื่องเล่าเพื่อความบันเทิงรูปแบบใหม่ในวัฒนธรรมจานด่วน(มหาวิทยาลัยศรีปทปุม, 2565-10-27) ผศ.นับทอง ทองใบบทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้งาน และกลวิธีการสื่อสารเนื้อหาของเว็บตูน ผู้ให้บริการอ่านการ์ตูนออนไลน์จากเกาหลี ที่สามารถสร้างแพลตฟอร์มคอนเทนต์เพื่อความบันเทิงรูปแบบใหม่ และกำลังนิยมไปทั่วโลกรวมทั้งไทย โดยเว็บตูนมีลักษณะการอ่านที่ต่างจากการ์ตูนเล่มแบบเก่าคือเล่าเรื่องตามลำดับจากบนลงล่าง ไม่มีกรอบ เป็นภาพสี เพื่อรองรับการอ่านช่วงเวลาสั้นๆ ผ่านสมาร์ตโฟน และยังเป็นสื่อมัลติมีเดียที่ใช้ภาพเคลื่อนไหวเช่นแฟลชแอนิเมชัน มีเสียงดนตรีประกอบบางช่วงเหมือนชมภาพยนตร์สั้น ด้านเนื้อหามีแนวเรื่องที่หลากหลาย และมีตัวละครที่มีจุดร่วมกันคือกลุ่มคนขี้แพ้ในวัยเรียนและวัยทำงาน สิ่งสำคัญคือเว็บตูนมีพื้นที่โต้ตอบระหว่างผู้อ่านกับครีเอเตอร์ได้ทันทีในท้ายตอนเพื่อสร้างวัฒนธรรมแฟนที่แข็งแรงจนทำให้เกิดการกระตุ้นให้นักอ่านกลายเป็นครีเอเตอร์สร้างเรื่องราวสดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยต่อยอดข้ามสื่อ ไปสร้างคอนเทนต์บันเทิงรูปแบบอื่นเช่น ซีรีส์ ภาพยนตร์ เกม ทำให้เว็บตูนกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่สร้างรายได้มหาศาลเสริมพลังให้กับคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี This article aims to study the form of practice and strategies of content communication for Webtoon: the digital comic reading provider from Korea, creating a content platform for the new genre of entertainment, gaining more popularity around the world including Thailand. The distinctive features of Webtoon unlike the old style comic books are the format 's vertical scroll, full-colored and no frame, in order to serve the smartphone readers in a short period of time, as well as providing the multimedia using motion graphics or music like watching short films. In addition, Webtoon offers various contents but in the same time , mostly has the common point of loser in either school or working age character. More importantly, Webtoon provides an open communication area for simultaneous response between readers and creators after the episode end to build up so strong relationship of fandom culture that even motivate readers to become creators. This is helpful for continual fresh story creation to build on transmedia generating other forms of entertaining contents such as TV series, movie, game and etc., Consequently, Webtoon has become a soft power providing large revenue to reinforce K-Wave.รายการ กระบวนการพัฒนาทักษะการสร้างอวทาร์และการจัดแสดงผลงานเพื่อส่งเสริมการจัดบริการสนเทศและการสื่อสารในจักรวาลนฤมิต(ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10) รัฐสภา แก่นแก้วกระบวนการพัฒนาทักษะการสร้างอวทาร์และการจัดแสดงผลงานเพื่อส่งเสริมการจัดบริการสนเทศและ การสื่อสารในจักรวาลนฤมิต เป็นการสังเคราะห์เทคนิควิธีการในการจัดอบรมเพื่อสร้างทักษะในการใช้งาน แพลตฟอร์มจักรวาลนฤมิต Spatial.io ในระยะเวลาอันสั้น จัดทําเป็นแผนกระบวนการอย่างมีระบบ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้นี้สามารถนําไปใช้เป็น แนวทางในการจัดการฝึกอบรมการสร้างอวทาร์ การจัดแสดงผลงานและการสื่อสารในจักรวาลนฤมิตในพื้นที่อื่นๆ อย่างเป็ นระบบ โดยประยุกต์แปรเปลี่ยนไปตามคุณสมบัติของเมตาเวิร์สแต่ละแห่งได้อย่างหลากหลายรายการ การสร้างตัวละครในหนังสือการ์ตูน และแอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่อง “ดาบพิฆาตอสูร”(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) นับทอง ทองใบบทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างตัวละคร เรื่องดาบพิฆาตอสูร ทางหนังสือการ์ตูน แอนิเมชันทางโทรทัศน์ และภาพยนตร์ที่มีความแตกต่างจากเรื่องแนวเดียวกันและมีความเป็นสากล ซึ่งพบว่ามีประเด็นน่าสนใจคือ 1. ตัวละครเอกแตกต่างไปจากตัวเอกแนวเรื่องแบบต่อสู้ และเน้นสร้างฮีโร่แบบเดียวกันที่มักสร้างตัวเอกให้มีด้านลบในตัว โดยตัวเอกอย่างทันจิโร่มีความเป็นฮีโร่ในอุดมคติที่จิตใจดี อ่อนโยน ไม่หวั่นไหวต่อความชั่วร้าย 2. ความเป็นฮีโร่ที่เป็นสากลต้องมาจากความพยายามของตนเองไม่ใช่โชคช่วย สิ่งของหรือพลังวิเศษ 3. ตัวละครเติมคุณค่ามนุษย์ตามอุดมคติสากล โดยออกแบบตัวละครที่มีความเป็นชายและหญิงในคนเดียวกัน และสร้างตัวละครที่มีความเท่าเทียมและหลากหลายทางเพศ 4.การสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่รู้จักในระดับสากลแฝงลงไปในตัวละครที่สะท้อนปัจเจกบุคคลตามบริบทปัจจุบันจะช่วยให้เรื่องมีเอกลักษณ์และเข้าถึงผู้บริโภคในระดับสากลได้รายการ แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวคิดกรีนดีไซน์ สำหรับธุรกิจกรีนคาเฟ่โดยเฉพาะ(2564-10-28) นฤดล จิตสกูลกรีนคาเฟ่ (Green Café) เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำธุรกิจร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเทรนด์กระแสเรื่องของรักษ์โลกกำลังเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน แนวคิดของการทำธุรกิจกรีนคาเฟ่ในประเทศไทย จึงเป็นการทำธุรกิจขายกาแฟผสมรวมกับการขายอาหารและเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ โดยนำแนวคิดเรื่องของธรรมชาติมาใช้ในระบบการจัดการร้าน ตั้งแต่เรื่องของการตกแต่งร้านไปตลอดจนภาชนะที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันยังขาดภาชนะหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับกรีนดีไซน์ที่แท้จริง อีกทั้งยังเกิดต้นทุนและวัสดุเหลือใช้ จากการประดับตกแต่งเมนูโดยไม่จำเป็น แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวคิดกรีนดีไซน์ สำหรับธุรกิจกรีนคาเฟ่โดยเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาด้านต้นทุน มีแนวทางทำได้ 4 รูปแบบ คือ 1) การออกแบบรูปร่างรูปทรงที่อิงจากธรรมชาติ 2) การเขียนลวดลายประดับตกแต่งเป็นสีใต้เคลือบ 3) การออกแบบและผลิตด้วยระบบลีน (Lean System) ในการลดปริมาณพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ และ 4) การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยมีวัสดุอื่น ๆ มาตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ไม้ ผ้า และวัสดุอื่น เป็นต้นรายการ ผลการวิเคราะห์ เรื่อง การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรม ของผู้เรียน จากกระแสดราม่า : กรณีศึกษามิวสิกวิดีโอเพลง LALISA, ลิซ่า วงแบล็กพิงก์(2564-10-28) นฤดล จิตสกูลจากกระแสดราม่าจากการเปิดตัวเพลงใหม่ LALISA ของลิซ่า วง BLACKPINK กลายเป็นกระแส ดราม่าที่ผู้เรียนให้ความสนใจในการนำมาเรียนรู้ เรื่องการเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรม โดยพบว่า ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และเกิดการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรมได้ 2 ประเด็น คือ 1) ด้านศิลปวัฒนธรรม และ 2) ด้านสังคม การเมือง ซึ่งขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีดังนี้ คือ 1) การค้นหาและศึกษาประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้นไม่เกิน 72 ชั่วโมง 2) การจัดลำดับของประเด็นดราม่า 3) การเลือกประเด็นดราม่าที่มีความสนใจสูงสุด 2 เรื่อง คือ ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย และด้านสังคม การเมือง 4) ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นดราม่า เป็นคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับเรื่อง มิวสิกวิดีโอเพลงใหม่ LALISA ของลิซ่า วงแบล็กพิงก์ 5) ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยให้ทำแบบสอบถาม 6) สุ่มประเด็น ดราม่าที่ผู้เรียนมีความสนใจ พร้อมเหตุผลสนับสนุน และ 7) นำบทเรียนที่ต้องการให้ผู้เรียนศึกษา มาเป็นโจทย์การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรม ผ่านมิวสิกวิดีโอ เพลง LALISA ที่มีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่รายการ แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวคิดกรีนดีไซน์ สำหรับธุรกิจกรีนคาเฟ่โดยเฉพาะ(2564-10-28) นฤดล จิตสกูลกรีนคาเฟ่ (Green Café) เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำธุรกิจร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเทรนด์กระแสเรื่องของรักษ์โลกกำลังเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน แนวคิดของการทำธุรกิจกรีนคาเฟ่ในประเทศไทย จึงเป็นการทำธุรกิจขายกาแฟผสมรวมกับการขายอาหารและเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ โดยนำแนวคิดเรื่องของธรรมชาติมาใช้ในระบบการจัดการร้าน ตั้งแต่เรื่องของการตกแต่งร้านไปตลอดจนภาชนะที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันยังขาดภาชนะหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับกรีนดีไซน์ที่แท้จริง อีกทั้งยังเกิดต้นทุนและวัสดุเหลือใช้ จากการประดับตกแต่งเมนูโดยไม่จำเป็น แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแนวคิดกรีนดีไซน์ สำหรับธุรกิจกรีนคาเฟ่โดยเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาด้านต้นทุน มีแนวทางทำได้ 4 รูปแบบ คือ 1) การออกแบบรูปร่างรูปทรงที่อิงจากธรรมชาติ 2) การเขียนลวดลายประดับตกแต่งเป็นสีใต้เคลือบ 3) การออกแบบและผลิตด้วยระบบลีน (Lean System) ในการลดปริมาณพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ และ 4) การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยมีวัสดุอื่น ๆ มาตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ไม้ ผ้า และวัสดุอื่น เป็นต้นรายการ ผลการวิเคราะห์ เรื่อง การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรม ของผู้เรียน จากกระแสดราม่า : กรณีศึกษามิวสิกวิดีโอเพลง LALISA, ลิซ่า วงแบล็กพิงก์(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564, 2564-10-28) นฤดล จิตสกูลการเรียนรู้ในยุค 2021 ที่มีความทันสมัยและสะดวกสบายในการเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการเลือกรับสารที่หลากหลายและรวดเร็ว ทำให้ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์ไปได้ไกลกว่าในอดีตมากมายหลายเท่าตัว กระแสสังคมออนไลน์กลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีสิ้นสุด กระแสสังคมออนไลน์ หรือกระแสดราม่าบนโซเชียลมีเดียประเภทต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นและส่งต่อได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน สามารถทำให้สามารถส่งต่อข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นได้ทันที ในประเด็นที่คนให้ความสนใจและเกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่าง ทันทีที่มีการเปิดตัวเพลงใหม่ “LALISA” ของ ลิซ่า หรือ “ลลิษา มโนบาล” ศิลปินไทยหนึ่งเดียวในวงแบล็กพิงก์ ซึ่งเป็นศิลปินที่มีผู้คนให้การตอบรับและชื่นชมเป็นอย่างมาก ในความสามารถของลิซ่าในการร้อง เต้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการเผยแพร่เพลง LALISA ในสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของการเข้าชม มิวสิกวิดีโอเพลงนี้จำนวนมาก ซึ่งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา YouTube ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า มิวสิกวิดีโอ ‘LALISA’ ของ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลสาวสายเลือดไทย มียอดการรับชมเอ็มวีสูงที่สุดใน 24 ชั่วโมงแรก ถึง 73.6 ล้านวิว ส่งให้ ลิซ่า สร้างสถิติใหม่กลายเป็นศิลปินหญิงเดี่ยวที่มียอดผู้ชมเอ็มวีที่สูงสุดในรอบ 24 ชม. ด้วยกระแสดราม่าที่มีผู้เรียนให้ความสนใจ ผู้สอนจึงนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการวิเคราะห์การเชื่อมโยงภาพเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้เรียน จากกระแสดราม่า : กรณีศึกษามิวสิกวิดีโอเพลง LALISA, ลิซ่า วงแบล็กพิงก์ ทำให้เป็นการเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ จากสิ่งที่ผู้เรียนกำลังให้ความสนใจในกระแสดราม่า เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสนุกสนานในชั้นเรียนรายการ บริการแบบ OTT กลยุทธ์ทางการตลาดกับช่องทางใหม่ของผู้ผลิตสื่อในประเทศไทย(ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) ผศ.ชาญวิทย พรหมพิทักษ์สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ เป็นวงกว้าง ธุรกิจบันเทิงก็เป็นธุรกิจ หนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่การให้บริการสตรีมมิ่งกลับกลายเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาของการระบาด ผู้ให้บริการทุกรายพยายามหาช่องทางทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของ ผู้ชมให้ทั่วถึงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ผู้ให้บริการให้ความสำคัญมากขึ้น คือ การผลิตออริจินัล คอนเทนต ์ เพื่อตอบสนองความตอ้ งการของผูช้ มในแต่ละประเทศ ซึ่งการผลิตออริจินลั คอนเทนตน์ ี้เป็นไปตาม แนวคิด Glocalization หรือเศรษฐกิจบนฐานถิ่นโลกภิวัตน์ หรือเศรษฐกิจระดับโลกบนฐานท้องถิ่น เนื่องจากผู้ชม แต่ละประเทศมีรสนิยมในการรับชมแตกต่างกัน แต่ยังมีความคุ้นเคยกับ วัฒนนธรรมท้องถิ่นของตน ดังน้้น เมื่อผู้ให้ บริการพยายามเอาใจผู้รับชมด้วยเนื้อหาที่ผู้ชมคุ้นเคย การผลิตออริจินัล คอนเทนต์จึงกลายเป็นช่องทางใน การเผยแพร่ผลงานของตนเอง และอาจเป็นทางรอดอีกทางหนึ่งในสถานการณ์การระบาดโควดิ -19 เช่นนี้รายการ การออกแบบการสอนผลิตรายการโทรทัศน์ดิจิทัลตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19:จากนโยบายสู่การปฏิบัติ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) รัฐสภา แก่นแก้วการออกแบบการสอนผลิตรายการโทรทัศน์ดิจิทัลตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เริ่มจากการจัดทํา วีดีโอการบรรยายล่วงหน้าแล้วมอบหมายให้ผู้เรียนได้รับชมก่อนการเรียน วางแผนและออกแบบและใช้ระบบ บริหารการจัดการเรียนการสอน เป็นแหล่งเก็บรวบรวมความรู้ แหล่งข้อมูลอ้างอิงต้นแบบการถ่ายทํา และการตัดต่อรูปแบบต่างๆ ในลักษณะฐานข้อมูลช่วยเหลือ เมื่อเข้าสู่ชั้นเรียนจัดการสอนแบบสดออนไลน์ผู้สอนมี หน้าที่สรุปเนื้อหาขยายความเข้าใจให้นักศึกษาเข้าใจบทเรียนมากขึ้นด้วยเทคนิคกลวิธีต่างๆ ในการออกแบบ การสอนในบทความนี้ประกอบด้วย วิธีการจัดวางเนื้อหาและสื่อในระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ วิธีการจัดทํา วีดีโอบันทึกการสอนเนื้อหาล่วงหน้า วิธีการบันทึกวิดีโอการสอนสด เทคนิคการประเมินเพื่อการเรียนรู้และ การเก็บร่องรอยคะแนน วิธีการใช้กระดานการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีการใช้เฟซบุ๊ก เป็นเครื่องมือสื่อสารและการออกแบบการสอนภาคปฏิบัติแบบออนไลน์ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบประสานเวลาและไม่ประสาน เวลาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19รายการ การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์(2563-12-18) นฤดล จิตสกูลการสื่อสารด้วยภาพเป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ในการถ่ายทอดเรื่องราวจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ เป็นการออกแบบสื่อเพื่อสร้างการรับรู้ทางสายตาไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เน้นสื่อสารด้วยภาพประกอบมากกว่าการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร ทำให้เกิดความโดดเด่น เกิดแรงดูดใจ ตลอดจนการตัดสินใจซื้อในสินค้าและบริการ ซึ่งถือเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ ในยุคปัจจุบันการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ นิยมใช้ในช่องทางสื่อสารผ่านสื่ออย่างแพร่หลาย โดยหากแบ่งตามลักษณะสื่อ ของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ สามารถแบ่งได้ 6 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. การออกแบบเครื่องแต่งกาย 2. การออกแบบงานโฆษณา 3. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 4. การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 5. การออกแบบสัญลักษณ์สื่อสารความหมาย และ 6. การออกแบบนิทรรศการ แต่ถ้าจะแบ่งตามประเภทของวิธีการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. ภาพถ่าย 2. ภาพวาดลายเส้น 3. ภาพวาดระบายสี 4. ภาพพิมพ์ 5. ภาพกราฟิกและภาพวาดดิจิทัล และ 6. ภาพประกอบสื่อผสม ซึ่งนอกเหนือจากนี้แล้ว ยังสามารถแบ่งตามรูปแบบเนื้อหาของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ได้อีก 3 รูปแบบ คือ 1. ภาพประกอบแบบเหมือนจริง 2. ภาพประกอบแบบดัดแปลงธรรมชาติ และ 3. ภาพประกอบแบบอิสระรายการ รูปแบบการทําตลาดแบบเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซี (Z)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) จิตรา วรรณสอนบทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ ลักษณะพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการเปิดรับเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ของคนกลุ่มเจเนอเรชันซี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิตสื่อเพื่อทำตลาดแบบเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เข้าใจและเห็นแนวทางของการทำเนื้อหาเพื่อการตลาด เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนเจเนอเรชันซี ซึ่งพบว่าเป็นกลุ่มที่กำลังจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในโลกอนาคตอันใกล้ ซึ่งพบว่าลักษณะของเนื้อหาเพื่อการตลาดที่คนกลุ่มเจเนอเรชันซีชื่นชอบคือ เนื้อหาที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ทันกระแส เนื้อหาที่เปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วมและมีพื้นที่ในการปล่อยความคิดสร้างสรรค์และแสดงตัวตนด้วยการร่วมสร้างเนื้อหา เนื้อหาที่มีการนำเสนอด้วยกลุ่มคนที่เป็นที่ยอมรับเฉพาะกลุ่ม ซึ่งนอกจากการนำเสนอที่สนุก มีอารมณ์ขัน และสร้างความบันเทิงแล้ว สิ่งที่สำคัญคือความจริงใจในการสื่อสาร การสร้างสื่อที่แสดงให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของการสื่อสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างเนื้อหาเพื่อการตลาดที่มีความหมายรายการ สื่อสังคมออนไลน์ โอกาสใหม่ของผู้ประกอบการความรู้(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560-12-14) จิตรา วรรณสอนผู้ประกอบการความรู้ (infopreneur) คือ ผู้ประกอบการ ที่มีผลิตภัณฑ์ข้อมูล (Information Product) เป็น ชุดข้อมูล ความรู้ ที่ผ่านการรวบรวม สรุป และเผยแพร่ในรูปแบบที่สอนคนจานวนมากได้และทาให้เกิดรายได้ ซึ่งในยุคก่อนอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ ธุรกิจข้อมูลความรู้ (Information Business) มีต้นทุนสูง มี ข้อจากัดด้านจานวนและระยะเวลาการขาย และต้องผ่านตัวกลาง เช่น สานักพิมพ์ หรือสังกัดองค์กรที่เป็นธุรกิจ ข้อมูลความรู้ เต็มรูปแบบ เมื่อสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้น ได้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจข้อมูลความรู้ ทั้งด้านช่องทางการให้บริการที่มี ต้นทุนเกือบจะเป็ นศูนย์ ระยะเวลาและจา นวนการขายที่ไม่จา กัด และ สื่อสังคมออนไลน์เป็ นเครื่องมือที่เอื้อต่อ การสร้างแบรนด์บุคคล (Personal Branding) จึงเป็ นโอกาสสาคัญสาหรับธุรกิจข้อมูลความรู้ ทั้งรูปแบบองค์กร ธุรกิจเต็มรูปแบบและบุคคล ที่จะสามารถเริ่มธุรกิจด้วยโอกาสที่สูง และต้นทุนที่ต่า มากเป็นประวัติการณ์รายการ การออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อการสื่อสารในงานธุรกิจ(2562-12-19) นฤดล จิตสกูลธุรกิจยุคดิจิทัล เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว ดังนั้นสื่อจะต้องมีความชัดเจน กระชับ ทำให้ลูกค้าเข้าใจในข้อมูลของสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด เทรนด์ที่กำลังมาแรงในยุคปัจจุบันก็คือ อินโฟกราฟิกในการสื่อสารธุรกิจ ซึ่งเป็นกระบวนการนำข้อมูลความรู้ที่ต้องการจะสื่อสารในธุรกิจ อาจจะเป็นข้อมูลสินค้าหรือบริการ มาใช้ออกแบบสื่อสารในรูปแบบของภาพกราฟิก ในรูปแบบของสัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ หรือลักษณะอื่นๆ ที่เป็นการสื่อสารด้วยภาพ ทำให้เกิดการเข้าใจที่ง่ายในระยะเวลาที่สั้น การออกแบบอินโฟกราฟิกที่ดีในการสื่อสารงานธุรกิจ จะมีลักษณะ ดังนี้ 1. เลือกหัวข้อเรื่องของธุรกิจให้ชัดเจนเพียงหัวข้อเดียว 2. ต้องออกแบบให้เข้าใจง่าย 3. เลือกข้อมูลธุรกิจที่สำคัญมาเป็นประเด็นหลักในการสื่อสาร 4. ต้องมีความมั่นใจในข้อเท็จจริงของข้อมูลธุรกิจ 5. ใช้อินโฟกราฟิกเป็นตัวเล่าเรื่องหรือดำเนินเรื่องในการสื่อสารธุรกิจ 6. สื่อสารธุรกิจจะมีคุณภาพ ต้องออกแบบอินโฟกราฟิกให้ดี 7. การใช้สี ที่ดึงดูดความสนใจ 8. การใช้คำที่สั้น กระชับ และสื่อสารชัดเจน 9. การตรวจสอบตัวเลขข้อมูลที่ชัดเจน 10. การออกแบบไฟล์อินโฟกราฟิกให้มีขนาดเล็ก การพัฒนารูปแบบการสื่อสารจากรูปแบบเดิม ให้เป็นการสื่อสารด้วยอินโฟกราฟิก และเกิดประโยชน์ให้กับธุรกิจ ต้องมีการศึกษากลุ่มเป้าหมาย ใช้การสื่อสารด้วยรูปภาพให้มากกว่าการใช้ตัวอักษร และออกแบบภาพจากคอนเทนท์ของธุรกิจให้ดูดี เพื่อการส่งต่อข้อมูลที่กว้างขึ้นรายการ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และการบริหารจัดการสื่อออนไลน์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่(2561-12-20) นฤดล จิตสกูลบทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น และ 2) เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่การบริหารจัดการสื่อออนไลน์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ให้สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคให้มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมมากขึ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ.2561 ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการวิธีสังเกตุการณ์และสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยววัยรุ่น ในช่วง 15 – 30 ปี จำนวน 200 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ รวมไปถึงวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ ตลอดจนกำหนดประเด็นสำคัญ ๆ ต่อการพัฒนาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการบริหารจัดการสื่อออนไลน์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น และเกิดเป็นผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น ด้านพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยววัยรุ่น พบว่า จะให้ความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมในลักษณะที่เป็นของกิฟท์ช็อป เล็กๆ ของตกแต่งบ้าน ที่มีความกระทัดรัด หาซื้อง่าย พกพาสะดวก ราคาไม่แพง เหมาะแก่การนำไปเป็นของขวัญของฝาก ในโอกาสที่ได้มาเที่ยวจังหวัดแพร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภท เสื้อหม้อห้อม ซองใส่มือถือ และกระเป๋าผ้าลายปักทำมือประเภทต่างๆ เป็นต้น โดยมักจะมีการสืบค้นข้อมูลจากสื่อออนไลน์ที่เป็นประเภทเฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fan page) รองลงมา คือ เว๊ปไซต์พันธ์ทิพย์ ดอทคอม (www.Puntip.com) และแอพลิเคชั่นไลน์ (Line Application) ตามลำดับ เพื่อประกอบความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อ ว่าเป็นสินค้าที่อยู่ในกระแส ใครมาเที่ยวจังหวัดแพร่ ต้องซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน ดังนั้นเมื่อนำข้อมูลด้านด้านพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภค และข้อมูลด้านการใช้สื่ออนไลน์ของผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่นแล้ว ทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่ากลุ่มโอทอป และการบริหารจัดการสื่อออนไลน์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ออกแบบและผลิตสินค้าที่เกิดจากผ้าหม้อห้อมได้ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น ออกแบบผลิตภัณฑ์ตลอดจนบรรจุภันฑ์ของสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โพสต์ แชร์ ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ให้ตรงกับช่องทางและประเภทของสื่อที่กลุ่มผู้บริโภคใช้ได้อย่างตรงไปตรงมาและมีความชัดเจนในการให้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ท้องถิ่น ที่คิดค้น ออกแบบและสร้างสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อม เข้ากระบวนการด้านการจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร สำหรับการป้องกันการทำซ้ำหรือลอกเลียนแบบ ซึ่งส่งผลทำให้มูลค่าของผลิตภัณฑ์ลดลง เพราะสินค้าล้นตลาด และเนื่องจากผ้าหม้อห้อมหรือผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมบางประเภทเป็นสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่าของชุมชน จังหวัด และประเทศชาติ คำสำคัญ: การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การบริหารจัดการ, สื่อออนไลน์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม, ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่รายการ ติ๊กต็อก สื่อบันเทิงขวัญใจเจเนอเรชัน Z(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) นับทอง ทองใบบทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ รูปแบบ วิธีการสื่อสารของแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนเจเนอเรชัน Z ซึ่งพบว่าติ๊กต็อกมีลักษณะเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ผสมหลายสื่อเข้าด้วยกัน จุดเด่นคือมีรูปแบบเป็นคลิปวิดีโอขนาดสั้น ออกแบบเน้นความง่าย เพราะมีเครื่องมือเสริมด้านการถ่ายทำ และการตัดต่อสำเร็จรูปเอื้อให้ผู้ใช้งานเป็นนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ได้เบ็ดเสร็จภายในแอปพลิเคชัน มีการนำเสนอผ่านหน้าจอด้วยภาพขนาดใหญ่ ตัวอักษรน้อย เน้นการติดแฮชแท็ก ซึ่งการออกแบบที่เน้นความง่าย สอดคล้องกับพฤติกรรมของคน Gen Z ที่ต้องการสิ่งที่ง่ายไว้ก่อน และทำให้ติ๊กต็อกดึงดูดผู้สร้างคอนเทนต์หน้าใหม่ได้ดี อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ช่วยสร้างตัวตนให้คนธรรมดากลายเป็นคนดังขึ้นมาได้ง่ายๆ นอกจากนี้ติ๊กต็อกยังแสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในโลกออนไลน์ควรเน้นความจริงใจ เปิดเผยให้เห็นวิถีชีวิตในด้านตลก ขบขันเพื่อแสดงความเป็นคนไม่สมบูรณ์แบบ ที่สามารถสร้างความบันเทิง และความสุข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่คน Gen Z แสวงหา The object of this article is to present the format of communication of TikTok Application which complies with the Gen Z behavior. The format of TikTok is the modern media which combine many forms of media altogether. The outstanding point is the short video-sharing content with simply design as they provide the optional service tools for producing and editing in template form. This is very user-friendly design that users are able to completely create contents within the App.The presentation of the large images with little wordings through screen and hashtagging are the simply designs which get along well with Gen Z preference prioritizing and ease. TikTok gets much attraction from the new content creators as well as to be the space for creators to make themselves from “Nobody” to “Somebody” more easily than any other media. Moreover, Tiktok also shows that the online content creators should be more realistic and reveal their real lifestyle in the funny way to sincerely show the incomplete aspects of humanity but can also make entertaining and bring much joy that are the important things which Gen Z is looking for.รายการ การนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทักษะการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12) รัฐสภา แก่นแก้วงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์วิธีการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ จำลองเสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลมาใช้ในการส่งเสริมทักษะการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา ด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้สถานการณ์จำลอง เสมือนจริงในการส่งเสริมทักษะการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการสอนพยาบาล เป็นใช้วิธีการเรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเสมือนอยู่ในสถานการณ์จริง สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทักษะนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ได้ประสบการณ์ จากสถานการณ์จำลองจะช่วยถ่ายโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติช่วยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจ วิเคราะห์ ความคิดความรู้สึกของลูกค้าต่อกิจกรรมการนำเสนอผลงานที่ได้ปฏิบัติในสถานการณ์จริง สรุปหลักการหรือ แนวคิดที่จะนำไปประยุกต์ในสถานการณ์การนำ เสนอผลงานในครั้งใหม่ การให้เหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงาน ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาทักษะในการสื่อสารให้ดีขึ้น ผู้เรียนจะมีความมั่นใจและ มีความสามารถในการนำเสนองานในสถานการณ์จริงมากขึ้น ผู้สอนที่ใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงเป็น รูปแบบการเรียนการสอนมีความจำเป็นต้องมีไหวพริบ และปรับเปลี่ยนบทบาทสมมติด้วยความรวดเร็ว ซึ่งต้องใช้ ทักษะและประสบการณ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทักษะการฟัง ที่จะทำให้ผู้สอนสามารถตั้งคำถาม และสร้าง รูปแบบสถานการณ์โต้ตอบกับผู้เรียนจนสามารถเกิดการเรียนรู้จากการกระทำได้อย่างแท้จริง ผลการศึกษา ความพึงพอใจพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.64รายการ การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์(2563-12-18) ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤดล จิตสกูลการสื่อสารด้วยภาพเป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ในการถ่ายทอดเรื่องราวจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร การสร้างสรรค์ภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ เป็นการออกแบบสื่อเพื่อสร้างการรับรู้ทางสายตาไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เน้นสื่อสารด้วยภาพประกอบมากกว่าการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร ทำให้เกิดความโดดเด่น เกิดแรงดูดใจ ตลอดจนการตัดสินใจซื้อในสินค้าและบริการ ซึ่งถือเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ ในยุคปัจจุบันการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ นิยมใช้ในช่องทางสื่อสารผ่านสื่ออย่างแพร่หลาย โดยหากแบ่งตามลักษณะสื่อ ของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ สามารถแบ่งได้ 6 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. การออกแบบเครื่องแต่งกาย 2. การออกแบบงานโฆษณา 3. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 4. การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 5. การออกแบบสัญลักษณ์สื่อสารความหมาย และ 6. การออกแบบนิทรรศการ แต่ถ้าจะแบ่งตามประเภทของวิธีการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. ภาพถ่าย 2. ภาพวาดลายเส้น 3. ภาพวาดระบายสี 4. ภาพพิมพ์ 5. ภาพกราฟิกและภาพวาดดิจิทัล และ 6. ภาพประกอบสื่อผสม ซึ่งนอกเหนือจากนี้แล้ว ยังสามารถแบ่งตามรูปแบบเนื้อหาของการสร้างภาพประกอบในงานออกแบบพาณิชยศิลป์ได้อีก 3 รูปแบบ คือ 1. ภาพประกอบแบบเหมือนจริง 2. ภาพประกอบแบบดัดแปลงธรรมชาติ และ 3. ภาพประกอบแบบอิสระ