CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ผศ.ชาญวิทย พรหมพิทักษ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ บริการแบบ OTT กลยุทธ์ทางการตลาดกับช่องทางใหม่ของผู้ผลิตสื่อในประเทศไทย(ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) ผศ.ชาญวิทย พรหมพิทักษ์สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ เป็นวงกว้าง ธุรกิจบันเทิงก็เป็นธุรกิจ หนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่การให้บริการสตรีมมิ่งกลับกลายเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาของการระบาด ผู้ให้บริการทุกรายพยายามหาช่องทางทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของ ผู้ชมให้ทั่วถึงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ผู้ให้บริการให้ความสำคัญมากขึ้น คือ การผลิตออริจินัล คอนเทนต ์ เพื่อตอบสนองความตอ้ งการของผูช้ มในแต่ละประเทศ ซึ่งการผลิตออริจินลั คอนเทนตน์ ี้เป็นไปตาม แนวคิด Glocalization หรือเศรษฐกิจบนฐานถิ่นโลกภิวัตน์ หรือเศรษฐกิจระดับโลกบนฐานท้องถิ่น เนื่องจากผู้ชม แต่ละประเทศมีรสนิยมในการรับชมแตกต่างกัน แต่ยังมีความคุ้นเคยกับ วัฒนนธรรมท้องถิ่นของตน ดังน้้น เมื่อผู้ให้ บริการพยายามเอาใจผู้รับชมด้วยเนื้อหาที่ผู้ชมคุ้นเคย การผลิตออริจินัล คอนเทนต์จึงกลายเป็นช่องทางใน การเผยแพร่ผลงานของตนเอง และอาจเป็นทางรอดอีกทางหนึ่งในสถานการณ์การระบาดโควดิ -19 เช่นนี้รายการ สถานการณ์ภาพยนตร์โลกและภาพยนตร์ไทยหลังการระบาดของโรคโควิด-19(ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ผศ.ชาญวิทย พรหมพิทักษ์จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลก จากการสำรวจพบว่า โรงภาพยนตร์มีรายได้ลดลงอย่างมากตั้งแต่เกิดการระบาด อันเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมโรคนั่นเอง เมื่อโรงภาพยนตร์ไม่สามารถให้บริการได้ จึงส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์เลื่อนการเข้าฉายของภาพยนตร์ที่ถ่ายทำเสร็จแล้ว รวมถึงการประกาศเลื่อนการถ่ายทำออกไปอย่างไม่มีกำหนด สถานการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และโรงภาพยนตร์สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้ง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งระบบก็พร้อมกลับมาดำเนินต่อทันที เห็นได้จากตัวเลขรายได้ของโรงภาพยนตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แม้จะกลับมาให้บริการได้และบริษัทผู้ผลิตสามารถดำเนินการตามปกติ แต่ความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคมีผลทำให้บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหาพันธมิตรเพื่อการหาช่องทางจัดจำหน่ายคู่ขนานไปกับการฉายใน โรงภาพยนตร์ซึ่งยังคงเป็นช่องทางหลักอยู่เช่นเดิม รวมถึงให้ความสำคัญกับการผลิตภาพยนตร์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นอีกทางเลือกของการผลิตภาพยนตร์เพื่อขยายฐานผู้ชมสู่ตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดอีกด้วย