CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "รัฐสภา แก่นแก้ว"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กระบวนการพัฒนาทักษะการสร้างอวทาร์และการจัดแสดงผลงานเพื่อส่งเสริมการจัดบริการสนเทศและการสื่อสารในจักรวาลนฤมิต(ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10) รัฐสภา แก่นแก้วกระบวนการพัฒนาทักษะการสร้างอวทาร์และการจัดแสดงผลงานเพื่อส่งเสริมการจัดบริการสนเทศและ การสื่อสารในจักรวาลนฤมิต เป็นการสังเคราะห์เทคนิควิธีการในการจัดอบรมเพื่อสร้างทักษะในการใช้งาน แพลตฟอร์มจักรวาลนฤมิต Spatial.io ในระยะเวลาอันสั้น จัดทําเป็นแผนกระบวนการอย่างมีระบบ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้นี้สามารถนําไปใช้เป็น แนวทางในการจัดการฝึกอบรมการสร้างอวทาร์ การจัดแสดงผลงานและการสื่อสารในจักรวาลนฤมิตในพื้นที่อื่นๆ อย่างเป็ นระบบ โดยประยุกต์แปรเปลี่ยนไปตามคุณสมบัติของเมตาเวิร์สแต่ละแห่งได้อย่างหลากหลายรายการ การนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทักษะการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12) รัฐสภา แก่นแก้วงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์วิธีการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ จำลองเสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลมาใช้ในการส่งเสริมทักษะการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา ด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้สถานการณ์จำลอง เสมือนจริงในการส่งเสริมทักษะการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการสอนพยาบาล เป็นใช้วิธีการเรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเสมือนอยู่ในสถานการณ์จริง สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทักษะนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ได้ประสบการณ์ จากสถานการณ์จำลองจะช่วยถ่ายโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติช่วยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจ วิเคราะห์ ความคิดความรู้สึกของลูกค้าต่อกิจกรรมการนำเสนอผลงานที่ได้ปฏิบัติในสถานการณ์จริง สรุปหลักการหรือ แนวคิดที่จะนำไปประยุกต์ในสถานการณ์การนำ เสนอผลงานในครั้งใหม่ การให้เหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงาน ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาทักษะในการสื่อสารให้ดีขึ้น ผู้เรียนจะมีความมั่นใจและ มีความสามารถในการนำเสนองานในสถานการณ์จริงมากขึ้น ผู้สอนที่ใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงเป็น รูปแบบการเรียนการสอนมีความจำเป็นต้องมีไหวพริบ และปรับเปลี่ยนบทบาทสมมติด้วยความรวดเร็ว ซึ่งต้องใช้ ทักษะและประสบการณ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทักษะการฟัง ที่จะทำให้ผู้สอนสามารถตั้งคำถาม และสร้าง รูปแบบสถานการณ์โต้ตอบกับผู้เรียนจนสามารถเกิดการเรียนรู้จากการกระทำได้อย่างแท้จริง ผลการศึกษา ความพึงพอใจพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.64รายการ การออกแบบการสอนผลิตรายการโทรทัศน์ดิจิทัลตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19:จากนโยบายสู่การปฏิบัติ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) รัฐสภา แก่นแก้วการออกแบบการสอนผลิตรายการโทรทัศน์ดิจิทัลตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เริ่มจากการจัดทํา วีดีโอการบรรยายล่วงหน้าแล้วมอบหมายให้ผู้เรียนได้รับชมก่อนการเรียน วางแผนและออกแบบและใช้ระบบ บริหารการจัดการเรียนการสอน เป็นแหล่งเก็บรวบรวมความรู้ แหล่งข้อมูลอ้างอิงต้นแบบการถ่ายทํา และการตัดต่อรูปแบบต่างๆ ในลักษณะฐานข้อมูลช่วยเหลือ เมื่อเข้าสู่ชั้นเรียนจัดการสอนแบบสดออนไลน์ผู้สอนมี หน้าที่สรุปเนื้อหาขยายความเข้าใจให้นักศึกษาเข้าใจบทเรียนมากขึ้นด้วยเทคนิคกลวิธีต่างๆ ในการออกแบบ การสอนในบทความนี้ประกอบด้วย วิธีการจัดวางเนื้อหาและสื่อในระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ วิธีการจัดทํา วีดีโอบันทึกการสอนเนื้อหาล่วงหน้า วิธีการบันทึกวิดีโอการสอนสด เทคนิคการประเมินเพื่อการเรียนรู้และ การเก็บร่องรอยคะแนน วิธีการใช้กระดานการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีการใช้เฟซบุ๊ก เป็นเครื่องมือสื่อสารและการออกแบบการสอนภาคปฏิบัติแบบออนไลน์ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบประสานเวลาและไม่ประสาน เวลาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19