S_RES-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_RES-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "สุบิน ยุระรัช"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 7 ของ 7
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี(มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับเครือข่ายวิจัยประชาชื่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Malayan Colleges Laguna (Philippines) Nong Lam University (Vietnam) Nanophotonics Research Center, Shenzhen University (China) Prince of Songkla University (Thailand) Kyushu Dental University (Japan) และ Universitas Kristen Maranatha (Indonesia), 2563-05-01) สุบิน ยุระรัชการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษากิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชาในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) เพื่อนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาปริญญาตรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เกษตรอำเภอ และนักศึกษาระดับปริญญาตรี รวม 10 คน เครื่องมือวิจัยมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกภาคสนาม การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชาในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 องค์ประกอบได้แก่ การบรรยายในห้องเรียน การเรียนรู้นอกห้องเรียน และการถอดบทเรียนจากการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ และ (2) กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาปริญญาตรีเป็นผลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการลงพื้นที่ในสนามวิจัย โดยกระบวนการนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การบ่มเพาะ การสร้างการรับรู้ การฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียน และการเกิดองค์ความรู้และองค์ความคิดรายการ การปลูกฝังกรอบความคิด เรื่อง ความรู้คู่คุณธรรม ให้กับนักศึกษาปริญญาตรี โดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-01-01) สุบิน ยุระรัชการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับของการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต (2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการปลูกฝังกรอบความคิดเรื่อง ความรู้คู่คุณธรรม การวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 390 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัยมี 3 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับมากโดยนำหลักของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการใช้ชีวิต (2) ความมุ่งมั่นมีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต การรับรู้ผลของพฤติกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความมุ่งมั่น และมีอิทธิพลทางตรงต่อเจตคติต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การรับรู้ผลของพฤติกรรมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) แนวทางการปลูกฝังกรอบความคิด เรื่อง ความรู้คู่คุณธรรม มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การบ่มเพาะ (2) การสร้างการรับรู้ (3) การฝึกปฏิบัติ (4) การถอดบทเรียน และ (5) การสร้างองค์ความรู้และองค์ความคิด โดยดำเนินการผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ Three main objectives of this research were (1) to study the level of the use of Philosophy of Sufficiency Economy (PSE) for living, (2) to analyze the variables effecting on the use of PSE for living, and (3) to propose the guidelines of the mindset cultivation of “Knowledge with Virtue” by using PSE. For quantitative analysis (QUAN), the sample consisted of the 390 bachelor’s degree students. For qualitative analysis (qual), the sample consisted of six key informants. Three types of research instruments were included: a questionnaire, an in-depth interview form, and a field note. The research findings were as follows: (1) PSE was used by the students at high level by applying the principles of Moderation, Reasonableness, and Self-Immunity to their study and living, (2) intention directly effects on the use of PSE for living, behavioral perception directly effects on the intention and on attitude towards the use of PSE for living, the behavioral perception indirectly effects on the use of PSE for living, and (3) the guidelines of mindset cultivation of knowledge with virtue were five steps comprising Step 1: Incubation, Step 2: Perception, Step 3: Exercise, Step 4: Lesson Learned, and Step 5: Construction of Knowledge and Thinking Bodies by carrying out through the teaching and learning process in which the Philosophy of Sufficiency Economy is applied.รายการ การวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาปริญญาตรี.(สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และเครือข่าย, 2562-07-05) สุบิน ยุระรัชการวิจัยเชิงปริมาณเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 คือ (1) เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาปริญญาตรี และ (2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาปริญญาตรี ตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 390 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาปริญญาตรีมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก และ (2) ความมุ่งมั่นมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การรับรู้ผลของพฤติกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความมุ่งมั่น และมีอิทธิพลทางตรงต่อเจตคติต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การรับรู้ผลของพฤติกรรมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งผ่านตัวแปรความมุ่งมั่น ส่วนความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรายการ ทำไมต้องลิเคิร์ต ?(วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2565-06-01) สุบิน ยุระรัชมาตรประเมินรวมค่าเป็นเครื่องมือวิจัยที่นำมาใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณทางสังคมศาสตร์ และในบริบทของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ในประเทศไทยมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่ออธิบายแนวคิดและหลักการสำคัญของเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ (2) เพื่ออธิบายคุณลักษณะของมาตรประเมินรวมค่าของ Likert ตามต้นฉบับของผู้คิดค้น และ (3) เพื่อนำเสนอทางเลือกในการใช้มาตรประเมินรวมค่าในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความเรื่องนี้มาจากการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องในเชิงแนวคิด หลักการ และคุณลักษณะของมาตรประเมินรวมค่า ทำให้ได้ทางเลือกในการใช้มาตรประเมินรวมค่าหลายแบบเพื่อใช้ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่นักวิจัยสามารถเลือกนำไปปรับใช้ได้ให้เหมาะสมรายการ องค์ประกอบและแนวทางการทำประกันคุณภาพอย่างมีความสุขของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน(2558-07) สุบิน ยุระรัชรายการ แนวคิดและแนวทางการทำวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการศึกษาและการนำไปใช้ประโยชน์(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2562-05-01) สุบิน ยุระรัช; ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่ออธิบายแนวคิด ความสำคัญ และเทคนิคการพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการศึกษา (2) เพื่ออธิบายแนวทางการออกแบบและการทำวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการศึกษา และ (3) เพื่อศึกษาการนำผลการวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการศึกษาไปใช้ประโยชน์ บทความเรื่องนี้มาจากการสังเคราะห์เอกสารเป็นหลัก โดยใช้บทความวิจัยในฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2552-2561) เป็นกรณีศึกษา ผลการสังเคราะห์เอกสาร พบว่า (1) องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการศึกษา คือ ชุดขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่สะท้อนคุณภาพหรือคุณลักษณะของสิ่งที่ศึกษาซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคคล เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เรียน เป็นต้น (2) การออกแบบการวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการศึกษานิยมใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ และเทคนิคที่นิยมใช้มากที่สุดในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และ (3) การนำผลการวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้ทางการศึกษาไปใช้ประโยชน์นิยมทำใน 2 ประเด็น ได้แก่ การใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ และการใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายรายการ แนวทางการสอนสถิติสำหรับนักศึกษาปริญญาเอกที่วิชาเอกไม่ใช่สถิติ(วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2566-01-01) สุบิน ยุระรัชการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับเทคนิคการสอนสถิติสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก และ (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการสอนสถิติที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่วิชาเอกไม่ใช่สถิติ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บทความวิจัย จำนวน 6 เรื่อง นักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 6 คน และผู้สอนวิชาสถิติในระดับปริญญาเอก จำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัยมี 2 ฉบับ คือ แบบบันทึกข้อมูล และ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2565 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) เทคนิคหรือวิธีที่นิยมนำมาใช้สอนสถิติสำหรับนักศึกษาปริญญาเอก มีจำนวน 7 เทคนิค ได้แก่ การสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม การสอนแบบเน้นมโนทัศน์ การสอนแบบโครงงานรายบุคคล การสอนโดยใช้พหุกรณีศึกษา การให้ข้อมูลป้อนกลับ/ปฏิสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ (2) แนวทางการสอนสถิติที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่ไม่ได้เรียนเอกสถิติ คือ การสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีแนวคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติ The objective of this research was (1) to synthesize research findings regarding on teaching techniques of statistics for doctoral students and (2) to propose an appropriate approach to teaching statistics for doctoral students whose majors are not statistics. Samples consisted of six research articles, six doctoral students, and three Instructors of statistics at doctoral level. The two research instruments were a data record form and an in-depth interview form. Data was collected during May-June 2022 and content analysis was used to analyze the data. The major research findings were as follows: (1) popular teaching techniques of statistics for doctoral students comprise group discussion, Concept-Based Instruction, individualized project, practice, multiple case studies, feedback/interaction, and informal meetings, and (2) the approach of teaching statistics for the doctoral students whose majors are not statistics should focus on teaching concepts along with practice.