CMU-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย ผู้เขียน "ผู้ช่วยศาสตรจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปลุกพลังอำนาจละมุน (Soft Power)ของ“กระตั้วแทงเสือ” ย่านตลาดพลู(Bizmatchingnews, 2566-01-19) ผู้ช่วยศาสตรจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจคุณประโยชน์ของ Soft Power มีส่วนในการสร้างความเข้มแข็งให้กับความเป็นแบรนด์ของประเทศ พบว่าบรรดาผู้รู้ด้าน Soft Power ล้วนยืนยันว่ามีคุณประโยชน์ยิ่งต่อประเทศ ประชาชน ธุรกิจและองค์กร แบรนด์ของประเทศที่แข็งแกร่งและสร้างการรับรู้ถึงพลังอำนาจละมุนในเชิงบวก ช่วยส่งเสริมให้ประเทศเป็นสถานที่ที่ผู้คนมาเยี่ยมชม ลงทุน และสร้างชื่อเสียงในด้านคุณภาพสินค้าและบริการ อีกทั้งยังได้รับการยอมรับนับถือจากประเทศเพื่อนบ้านและในเวทีระหว่างประเทศ การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง “กระตั้วแทงเสือ” ด้วยการอนุรักษ์ความเป็นต้นแบบทั้งการดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องต้นฉบับ และท่วงทำนองของเสียงดนตรีจากเครื่องดนตรีหลักในการแสดงโดยไม่มีการดัดแปลงให้เพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งความตั้งใจของคณะกระตั้วแทงเสือศิษย์หลวงปู่ผาดมีความประสงค์ในการเผยแพร่ศิลปะแขนงนี้ให้เป็นที่รู้จัก ให้เห็นคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมการแสดงที่สืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา การขยายวงการรับรู้ออกไปไกลกว่าพื้นที่ในฝั่งธนบุรีอันเป็นการต่อยอดสู่ความยั่งยืนในระดับประเทศและระดับสากลรายการ รู้เท่าทันผลโพลสำคัญไฉน?(กรุงเทพธุรกิจ, 2566-05-14) ผู้ช่วยศาสตรจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจโพล เป็นชุดคำถามที่ออกแบบสร้างขึ้นเพื่อสอบถามกลุ่มคนที่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ หรือพฤติกรรม โดยการสำรวจความคิดเห็นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งแบบออนไลน์ ทางโทรศัพท์ หรือ ลงภาคสนามด้วยตนเอง และเป็นเครื่องมือสำคัญในการเลือกตั้ง ช่วยวัดความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ และผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยในการหาเสียงทางการเมืองมักใช้โพลสำรวจความคิดเห็นเพื่อช่วยระบุประเด็นสำคัญที่มีความสำคัญต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อวัดความนิยมของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเพื่อติดตามประสิทธิภาพของกลยุทธ์การหาเสียง การทำนายผลการเลือกตั้ง วิธีการหรือหลักที่ช่วยให้ประชาชนรู้เท่าทันว่าผลโพลที่รับรู้มานั้นเชื่อถือได้ เที่ยงตรง และเป็นกลาง ตามหลักของระเบียบวิธีวิจัยสามารถสังเกตได้ดังนี้ • มองหาคำถามนำ • ตรวจสอบแหล่งที่มาของโพล • ประเมินขนาดตัวอย่าง จำนวนผู้เข้าร่วมในการตอบโพล • มองหาความลำเอียงในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง • พิจารณาการตีความผลลัพธ์ การทำโพลนั้นไม่ได้แม่นยำเสมอไป และอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากเป็นเพียงภาพรวมของความคิดเห็นสาธารณะ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคาดเดาได้ยาก อาจเปลี่ยนใจหรือได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอก